พฤษภาคม 2558
รศ.วรภัทร ลักคนทินวงศ์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนาบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะดูดกลิ่นทุเรียนสดไว้ภายในบรรจุภัณฑ์ ทั้งยังสามารถยืดอายุการวางจำหน่าย พร้อมออกแบบฉลากบ่งชี้ความสุกของทุเรียน
รศ.วรภัทร ลักคนทินวงศ์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนาบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะดูดกลิ่นทุเรียนสดไว้ภายในบรรจุภัณฑ์ ทั้งยังสามารถยืดอายุการวางจำหน่าย พร้อมออกแบบฉลากบ่งชี้ความสุกของทุเรียน
บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะดูดกลิ่นทุเรียน พัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีการบรรจุแบบดัดแปรบรรยากาศ (Modified Atmosphere Packaging) ซึ่งประกอบด้วย 2 ระบบคือ ระบบบรรจุภัณฑ์แอคทีฟ (Active package) และระบบบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Intelligent Package) โดยระบบบรรจุภัณฑ์แอคทีฟจะมีตัวดูดซับเอทิลีน (C2H4) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ของกลิ่นทุเรียน มีลักษณะเป็นแผ่นดูดซับที่ประกอบด้วยถ่านชีวภาพ (biochar) และถ่านกัมมันต์ (activated carbon) เพื่อป้องกันการเปลี่ยนสภาพสารอาหารจากการหายใจในระดับเซลล์ (Anaerobic respiration) และภาวการณ์ย่อยของจุลินทรีย์ ทำให้ทุเรียนไม่เปลี่ยนสภาพเป็นสุกงอม หรือเนื้อเละ จึงสามารถคงความสด ช่วยยืดอายุการวางจำหน่ายได้ ขณะที่ระบบบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Intelligent Package) มีตัวบ่งชี้ที่สามารถตรวจสอบคุณภาพและความสดของทุเรียน จากการเปลี่ยนแปลงสารเคมีในอาหาร (เมตาบอไลท์) ของผลิตภัณฑ์สดในบรรจุภัณฑ์ เพื่อบอกให้ผู้บริโภคทราบว่า ทุเรียนสดภายในบรรจุภัณฑ์ ยังคงมีคุณภาพดีต่อการบริโภค และควรซื้อไปหรือไม่ ซึ่งบรรจุภัณฑ์สำหรับทุเรียนสุกพร้อมรับประทานนี้ สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 45 วัน โดยคงความสุก สด ได้เหมือนพึ่งแกะเปลือกสามารถช่วยลดกลิ่นที่จะฟุ้งกระจายออกนอกบรรจุภัณฑ์ ทำให้หมดปัญหาสำหรับการซื้อหรือต้องนำไปในสถานที่สาธารณะ ไม่มีกลิ่นติดรถ รวมถึงสามารถเปิดตลาดในระดับพรีเมี่ยมที่เน้นผลไม้พร้อมทาน และยังสามารถส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยเฉพาะทางเรือ ที่ใช้เวลานาน
บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะดูดซับกลิ่นทุเรียน สำหรับการต่อยอดเชิงพาณิชย์นั้น อยู่ในขั้นตอนของการจัดสร้างโรงงานบรรจุภัณฑ์ ซึ่งนอกจากใช้กับทุเรียนสดแล้วยังสามารถต่อยอดใช้บรรจุภัณฑ์นี้กับผลไม้สดไทยได้หลากหลายชนิดอีกด้วย