พฤษภาคม 2558
นักวิจัยศูนย์วิจัยฟิสิกส์พลาสมาและลำอนุภาค ร่วมกับ ทีมวิจัย Rice Chemistry Research Lab คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้พลาสมาเพื่อดัดแปรกระบวนการงอกของเมล็ดข้าว ที่สามารถเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกได้
นักวิจัยศูนย์วิจัยฟิสิกส์พลาสมาและลำอนุภาค ร่วมกับ ทีมวิจัย Rice Chemistry Research Lab คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้พลาสมาเพื่อดัดแปรกระบวนการงอกของเมล็ดข้าว ที่สามารถเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกได้
ทีมวิจัยได้ใช้วัตถุดิบจากข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่ (พันธุ์ข้าวเจ้าสีดำ) กับ ข้าวหอมพิษณุโลก 1 (พันธุ์ข้าวเจ้าขาว) โดยเข้าสู่ กระบวนการพลาสมาก๊าซผสมอาร์กอนและออกซิเจน เป็นระยะเวลา 5 ถึง 8 วินาที แล้วนำเมล็ดข้าวไปผ่านกระบวนการทำข้าวกล้องงอก และตรวจสอบในช่วงเวลาที่ต่างกันคือ 48 ชั่วโมง 72 ชั่วโมงและ 96 ชั่วโมง จากการศึกษาพบว่า การประยุกต์พลาสมาที่ สภาวะกำลัง 10 วัตต์ ระยะห่าง 8 มิลลิเมตร เวลา 5 วินาที เป็นสภาวะที่มีอัตราการงอกดี และทำให้ส่วน
ของรากและลำต้นที่งอกยาวกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่มีการประยุกต์พลาสมา นอกจากนี้ยังพบว่ามีผลต่อการเพิ่มขึ้นของสารประกอบฟีนอลลิก ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิตหรือที่รู้จักกันว่า “กาบา” (GABA) มีฤทธิ์ช่วยในการทำงานของระบบประสาท พร้อมได้ข้าวกล้องงอกที่มี
ลักษณะทางกายภาพที่ดี ลดระยะเวลาในการเตรียมข้าว จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าในตลาดอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกได้
นวัตกรรมการประยุกต์ใช้พลาสมากับข้าวกล้องงอก อยู่ในช่วงของการทดลองยังไม่มีการวางจำหน่าย ซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจนวัตกรรมดังกล่าวเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม สามารถติดต่อกับทีมงาน Rice Chemisitry Research Lab ได้ที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันและเวลาราชการ
download PDF ย้อนกลับ