สวัสดี

Technology & Innovation

นวัตกรรม “ขมิ้นชัน” นาโนเอนแคปซูเลชั่น

พฤษภาคม 2558

รายละเอียด :

บริษัททิปโก้ ไบโอเท็ค ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนา “สารสกัดขมิ้นชันบรรจุในแคปซูลนาโน” ที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง โดยแทบไม่มีผลต่อรสชาติของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องรสชาติและกลิ่นฉุนของขมิ้นชัน เมื่อผสมกับอาหารและเครื่องดื่มแล้วทำให้มีรสชาติไม่ดี รวมถึงปัญหาสารสำคัญของขมิ้น (curcumin)   ที่ละลายน้ำได้ไม่ดี เสื่อมสลายได้ง่าย และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อย 

                  บริษัททิปโก้ ไบโอเท็ค ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนา “สารสกัดขมิ้นชันบรรจุในแคปซูลนาโน” ที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง โดยแทบไม่มีผลต่อรสชาติของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องรสชาติและกลิ่นฉุนของขมิ้นชัน เมื่อผสมกับอาหารและเครื่องดื่มแล้วทำให้มีรสชาติไม่ดี รวมถึงปัญหาสารสำคัญของขมิ้น (curcumin)   ที่ละลายน้ำได้ไม่ดี เสื่อมสลายได้ง่าย และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อย 

                  เทคนิคนาโนอิมัลชัน เป็นกระบวนการผลิตสารสกัดขมิ้นชันบรรจุในแคปซูลนาโน โดยการนำผงขมิ้นชันเปลี่ยนให้เป็นอิมัลชัน ด้วยการเติมสารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ (Tween 20) น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ชนิดห่วงโซ่ปานกลาง (MCT, medium chain triglycerides) และน้ำ จากนั้นใช้วิธีปั่นผสมสารทั้งหมดภายใต้แรงดันสูง (high pressure homogenization)  ทำให้ได้สารสกัดขมิ้นชันบรรจุในแคปซูลนาโน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 79.5 นาโนเมตร ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะส่งผลให้สารเคอคิวมิน (curcumin) ซึ่งเป็นสารสกัดสำคัญของขมิ้นชัน มีความคงตัวมากขึ้นและสามารถป้องกันการถูกทำลาย โดยการไฮโดรไลซีส (hydrolysis) ภายในร่างกายได้ ทำให้สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดียิ่งขึ้น และมีคุณสมบัติสามารถกลบกลิ่นและรสชาติของสมุนไพร สามารถละลายน้ำได้    ไม่ตกตะกอนและมีความคงตัวดีในน้ำหรือในเครื่องดื่ม ทำให้สามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอางได้เป็นอย่างดี

              ขณะนี้ทางบริษัทได้นำสารสกัดขมิ้นชันบรรจุในแคปซูลนาโน มาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์หลายประเภท โดยเฉพาะเครื่องดื่มประเภท Functional ผสมขมิ้นชัน ซึ่งได้รับความนิยมมากในผู้บริโภคญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีการส่งตัวอย่างสารสกัดดังกล่าวให้ลูกค้าหลายรายทดลองใช้แล้วเพื่อผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ต่อไป  
 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527