พฤษภาคม 2558
ถึงแม้ว่าจะมีสารทดแทนความหวานที่ไม่ให้พลังงาน เช่น แอสปาร์แตม ซูคราโลสจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ทดแทนน้ำตาล แต่การที่สารเหล่านี้ผลิตจากการสังเคราะห์ทางเคมี ซึ่งแตกต่างจากหญ้าหวานที่เป็นพืชตามธรรมชาติ สารสกัดจากใบหญ้าหวาน มีชื่อเรียกว่า สตีวิโอไซด์ (stevioside) จึงมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยลักษณะของสตีวิโอไซด์เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200-300 เท่า ซึ่งรสหวานของสาร สตีวิโอไซด์จะจางหายไปช้ากว่าน้ำตาลทราย แต่จะมีรสหวานติดลิ้นนานกว่า โดยสารที่ว่านี้จะไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงานในร่างกาย มีแคลอรี่ต่ำ จึงมีความปลอดภัยสูงและมีการยอมรับให้ใช้เป็นสารให้ความหวานได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 262 พุทธศักราช 2545 โดยปัจจุบันนี้พบว่าต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ บราซิล เป็นต้น สารทดแทนความหวานที่สกัดจากหญ้าหวานกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
ถึงแม้ว่าจะมีสารทดแทนความหวานที่ไม่ให้พลังงาน เช่น แอสปาร์แตม ซูคราโลสจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ทดแทนน้ำตาล แต่การที่สารเหล่านี้ผลิตจากการสังเคราะห์ทางเคมี ซึ่งแตกต่างจากหญ้าหวานที่เป็นพืชตามธรรมชาติ สารสกัดจากใบหญ้าหวาน มีชื่อเรียกว่า สตีวิโอไซด์ (stevioside) จึงมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยลักษณะของสตีวิโอไซด์เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200-300 เท่า ซึ่งรสหวานของสาร สตีวิโอไซด์จะจางหายไปช้ากว่าน้ำตาลทราย แต่จะมีรสหวานติดลิ้นนานกว่า โดยสารที่ว่านี้จะไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงานในร่างกาย มีแคลอรี่ต่ำ จึงมีความปลอดภัยสูงและมีการยอมรับให้ใช้เป็นสารให้ความหวานได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 262 พุทธศักราช 2545 โดยปัจจุบันนี้พบว่าต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ บราซิล เป็นต้น สารทดแทนความหวานที่สกัดจากหญ้าหวานกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
บริษัท Sugavia ได้มองเห็นโอกาสทางธุรกิจจากจุดเด่นของหญ้าหวาน จึงได้ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดจาก “ใบหญ้าหวาน” เนื่องจากประเทศไทยยังขาดผู้ผลิตสารทดแทนความหวานที่สกัดจากหญ้าหวานที่มีคุณสมบัติเหมาะกับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ รวมไปถึงผู้บริโภคที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพ อาทิ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น โดยขณะนี้มีการผลิตออกมาในสองรูปแบบ คือ รูปแบบผงบรรจุซอง จำหน่ายในราคากล่องละ 50 บาท และรูปแบบน้ำ ขวดละ 80 บาท นอกจากนี้ยังมีขนาดบรรจุเป็นกิโลกรัมสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีพร้อมวางจำหน่ายสู่ท้องตลาดแล้ว โดยมีผู้ประกอบการบางรายนำสารให้ความหวานมาใช้ทดแทนน้ำตาลสำหรับอาหารและเครื่องดื่มในอาหารบางประเภท เพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางธุรกิจใหม่ให้กับผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศได้
download PDF ย้อนกลับ