สวัสดี

Technology & Innovation

ซองเครื่องปรุงจาก “เจลาตินหนังปลา”

พฤษภาคม 2558

รายละเอียด :

ผลงานวิจัยระดับปริญญาเอกของนักศึกษาจากภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย(สกว.) ได้พัฒนา  ซองเครื่องปรุงจาก “เจลาตินหนังปลา” ขึ้น ซึ่งเกิดจากการสังเกตุเห็นว่าขั้นตอนของกระบวนการแปรรูปสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาและหมึก จะมีชิ้นส่วน  ที่เหลือจากกระบวนการผลิตค่อนข้างมากโดยเฉพาะ หนังปลา จึงเกิดแนวคิดในการนำหนังปลามาพัฒนาเป็นแผ่นฟิล์มเจลาตินจากหนังปลา ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและสามารถบริโภคได้ โดยแผ่นฟิล์มจากหนังปลานี้       

ผลงานวิจัยระดับปริญญาเอกของนักศึกษาจากภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย(สกว.) ได้พัฒนา        ซองเครื่องปรุงจาก “เจลาตินหนังปลา” ขึ้น ซึ่งเกิดจากการสังเกตุเห็นว่าขั้นตอนของกระบวนการแปรรูปสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาและหมึก จะมีชิ้นส่วน  ที่เหลือจากกระบวนการผลิตค่อนข้างมากโดยเฉพาะ หนังปลา จึงเกิดแนวคิดในการนำหนังปลามาพัฒนาเป็นแผ่นฟิล์มเจลาตินจากหนังปลา ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและสามารถบริโภคได้ โดยแผ่นฟิล์มจากหนังปลานี้      
              มีคุณสมบัติที่โดดเด่น คือ สามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซและสารระเหยต่างๆ ป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ภายนอก และทำหน้าที่เก็บกักสารเติมแต่งอาหาร เช่น วัตถุกันเสีย สารช่วยรักษากลิ่นรส ตลอดจนทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายของอาหารระหว่างการขนส่ง นอกจากนี้ยังเพิ่มความแข็งแรงโดยการปรับปรุงฟิล์ม   เจลาตินให้มีคุณสมบัติลดการซึมผ่านไอน้ำ และสามารถปิดผนึกเป็นถุงหรือบรรจุภัณฑ์ได้ด้วยความร้อน ส่งผลให้สามารถนำไปใช้บรรจุผงปรุงรสและน้ำมัน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ใช้กับอาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่ หรือเส้นหมี่พร้อมปรุง ซองที่ผลิตมาจากเจลาตินหนังปลานี้ สามารถละลายได้ง่ายในน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส ในเวลาไม่ถึง 1 นาที ซึ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริโภค เนื่องจากไม่ต้องฉีกซองเครื่องปรุง ทั้งยังได้โปรตีนจากเจลาตินหนังปลา และสามารถลดปริมาณขยะได้อีกด้วย
           
          จึงนับได้ว่าซองเครื่องปรุงจากฟิล์มเจลาตินหนังปลาเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม กอปรกับเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากปลาจึงสามารถใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ฮาลาล จึงสามารถใช้ได้กับผู้บริโภคทุกศาสนาและทุกเชื้อชาติ ซึ่งน่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ทางเลือกใหม่ที่สามารถนำมาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527