พฤษภาคม 2558
ร้านอาหารในปัจจุบันหันมาใช้ผักปลอดสารพิษเป็นจุดขายให้กับผู้บริโภคมากขึ้น แต่อุปสรรคสำคัญที่ตามมาก็คือ ผู้ประกอบการกลับต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย แต่สำหรับ หจก.แสบซอยเก้า ผู้ประกอบการร้านอาหารบุฟเฟ่ชื่อดัง ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้เลือกที่จะใช้เครื่องล้างผักปลอดสารพิษ สามารถกำจัดสารตกค้างในผักให้หมดไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ผักออร์แกนิก เหมือนผู้ประกอบการรายอื่นๆ ทั้งนี้ ร้านอาหารแสบซอยเก้า ได้เข้าโครงการร้านอาหารปลอดภัย โดยได้ขอรับคำปรึกษาจาก ผศ.ดร.อดุลย์ จรรยาเลิศอดุลย์ อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาต้นแบบเครื่องล้างผักที่สามารถกำจัดสารพิษที่ตกค้างในผักให้หมดไปได้
ร้านอาหารในปัจจุบันหันมาใช้ผักปลอดสารพิษเป็นจุดขายให้กับผู้บริโภคมากขึ้น แต่อุปสรรคสำคัญที่ตามมาก็คือ ผู้ประกอบการกลับต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย แต่สำหรับ หจก.แสบซอยเก้า ผู้ประกอบการร้านอาหารบุฟเฟ่ชื่อดัง ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้เลือกที่จะใช้เครื่องล้างผักปลอดสารพิษ สามารถกำจัดสารตกค้างในผักให้หมดไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ผักออร์แกนิก เหมือนผู้ประกอบการรายอื่นๆ ทั้งนี้ ร้านอาหารแสบซอยเก้า ได้เข้าโครงการร้านอาหารปลอดภัย โดยได้ขอรับคำปรึกษาจาก ผศ.ดร.อดุลย์ จรรยาเลิศอดุลย์ อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาต้นแบบเครื่องล้างผักที่สามารถกำจัดสารพิษที่ตกค้างในผักให้หมดไปได้
โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือ Itap โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่สนับสนุนเงินทุนส่วนหนึ่งในการพัฒนาเครื่องดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ในการกำจัดสารตกค้างในผักหลากชนิด ซึ่งมีต้นทุนราว 7-8 พันบาทต่อวัน ด้วยเครื่องล้างผักที่มีประสิทธิภาพ แทนแรงงานคน
เทคโนโลยี
เครื่องล้างผักต้นแบบนี้ ใช้ระบบโอโซนร่วมกับการหมุนวนน้ำ ซึ่งสามารถล้างทำความสะอาดผัก โดยไม่พบสารปนเปื้อนอย่าง ยาฆ่าแมลง ฟลอมาลีน โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (สารฟอกขาว) กรดซาลิซิลิค (สารกันรา) สารบอแรกซ์ ตกค้างอยู่ในผักหลังจากการสุ่มตรวจ อีกทั้งด้วยกระบวนการดังกล่าว สามารถประยุกต์ใช้ได้กับผักหลากหลายชนิด เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักชี ผักกาดขาว สะระแหน่ ถั่วงอก โดยใช้เวลาในการล้างไม่นานนัก อีกทั้งยังพบว่าปริมาณสารตกค้างลดลงได้อีก เมื่อใช้ระยะเวลาล้างนานขึ้น “ผักแต่ละชนิดใช้เวลาต่างกัน และเวลาในการล้างผัก มีผลต่อความสะอาดของผักแต่ละชนิดที่นำมาล้าง เช่น เครื่องล้างผักต้นแบบมีขนาดความจุ 50 ลิตร ผักใบใช้เวลาในการล้างครั้งละ 5-10 นาที ถั่วงอกใช้เวลาครั้งละ 10 นาที”
นวัตกรรม
หลังจากทดลองใช้งานในช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมา ประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจ สามารถลดขั้นตอนการทำงานของพนักงานล้างผักให้เหลือแต่การเอาดินและรากออกก่อนเข้าเครื่อง ทำให้ได้ผักที่มีคุณภาพมากขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนผักปลอดสารพิษ ทั้งนี้ เครื่องล้างผักแนวใหม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด และคุ้มค่ากับการใช้งานมาก
download PDF ย้อนกลับ