พฤษภาคม 2558
นักวิจัยจาก Georgia Tech Research Institute (GTRI) ได้พัฒนาระบบการตัดแต่งเนื้อไก่แบบอัจฉริยะ (Intelligent cutting and deboning system) ด้วยการใช้ระบบภาพ 3 มิติ และแขนกล ในการตัดแต่งเนื้อไก่อย่างแม่นยำ เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดความเสี่ยงจากการเศษกระดูกปนเปื้อนไปกับผลิตภัณฑ์
โดยธรรมชาติไก่แต่ละตัวจะมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน ทั้งรูปทรงและขนาด ซึ่งดูเหมือนว่าวิธีการที่จะเพิ่มผลผลิต ของเนื้อไก่ตัดแต่ง นั่นคือ การเลือกใช้ไก่ที่ตัวใหญ่ เนื้อเยอะเท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ยาก
นักวิจัยจาก Georgia Tech Research Institute (GTRI) ได้พัฒนาระบบการตัดแต่งเนื้อไก่แบบอัจฉริยะ (Intelligent cutting and deboning system) ด้วยการใช้ระบบภาพ 3 มิติ และแขนกล ในการตัดแต่งเนื้อไก่อย่างแม่นยำ เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดความเสี่ยงจากการเศษกระดูกปนเปื้อนไปกับผลิตภัณฑ์
โดยธรรมชาติไก่แต่ละตัวจะมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน ทั้งรูปทรงและขนาด ซึ่งดูเหมือนว่าวิธีการที่จะเพิ่มผลผลิต (yield) ของเนื้อไก่ตัดแต่ง นั่นคือ การเลือกใช้ไก่ที่ตัวใหญ่ เนื้อเยอะเท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ยาก
วิเคราะห์โครงสร้างด้วยภาพ 3D
โดยระบบมองภาพจะทำการวิเคราะห์และวัดตำแหน่งในจุดต่างๆ ของตัวไก่ จากนั้นระบบจะบันทึกข้อมูลและส่งไปประมวลผลเพื่อกำหนดตำแหน่งโครงกระดูกและเครื่องในภายในตัวไก่ เพื่อกำหนดตำแหน่งการลงใบมีด
ซึ่งระหว่างที่มีดลงหั่นที่เนื้อไก่แล้ว ระบบประมวลผลสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวตำแหน่งอวัยวะ เนื้อเยื่อและกระดูก ทำให้แขนกลสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องด้วยแรงคงที่
ตัดเฉพาะเนื้อไก่เท่านั้น
ระบบนี้มีแนวคิดคล้ายคลึงกับการแยกเนื้อออกจากกระดูก โดยใบมีดจะเลือกตัดเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อไก่เท่านั้น ซึ่งลึกสุดระดับเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อที่ติดอยู่กับกระดูก เมื่อเซ็นเซอร์ที่ติดอยู่กับแขนกลตรวจจับเจอตำแหน่งของกระดูก ระบบจะสั่งให้ใบมีดหลบหลีกกระดูกได้ โดยไม่ทำให้กระดูกแตกหักและปนเปื้อนกันเนื้อไก่