สวัสดี

Technology & Innovation

น้ำมันเงาะ พลังงานแห่งความยั่งยืน

พฤษภาคม 2558

รายละเอียด :

เรื่องราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ดูเหมือนจะอยู่คู่กับเมืองไทยอย่างแยกกันไม่ออกเมื่อ ไม่กี่วันที่ผ่านมาก็ยังมีข่าวเกษตรกรนำผลไม้มาเททิ้งเพื่อเรียกร้องให้หน่อยงานที่เกี่ยวข้องออกมาให้ ความช่วยเหลือ เรื่องราคารับซื้อที่ตกต่ำจนไม่สามารถรับภาระต้นทุนได้ดูเหมือนวิธีแก้ปัญหาตามหลักทฤษฎีจะไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมเสมอไป วิธีหนึ่งที่จะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนคือ การเพิ่ม มูลค่าผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์

การผลิตน้ำมันจากเนื้อในเมล็ดเงาะ  (rambutant seed kernels oil)  แหล่งน้ำมันใหม่เพื่อความ ยั่งยืน คือผลงานจากฝีมือคนไทยซึ่งถูกเผยแพร่อยู่ในวารสาร Food Science and Technology โดย ดร. อุทัย กลิ่นเกษตร อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเท๕โนโลยีการอาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศสาสตร์

            เงาะ เป็นผลไม้ตามฤดูกาลที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยถือเป็นผู้นำการผลิตและส่งออกเงาะในภูมิภาค ซึ่งนอกจากจะนิยมรับประทานแบบผลสดแล้ว เงาะ ในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋องก็เป็นผลิตภัณฑ์ ที่ได้ความนิยมสูงจากผู้บริโภคทั่วโลก ดังนั้นอุตสาหกรรมการผลิตเงาะกระป๋องจึงขยายตัวมากขึ้น พร้อมๆกับของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตอย่างเมล็ดเงาะ ประกอบกับความต้องการแหล่งไขมันและน้ำมันเพื่อประโยชน์ทางโภชนาการของมนุษย์และอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เป็นที่มาของการศึกษาวิจัยแหล่ง ไขมันและน้ำมันนวัตกรรมใหม่

เมล็ดเงาะแหล่งไขมันสูง

            ผลการทดลองพบว่า เนื้อในเมล็ดเงาะมีปริมาณไขมันและกรดไขมันอะแรคดิโดนิกสูง (Arachidonic acid) จากการสกัดเนื้อในเมล็ดเงาะด้วยเฮกเซน  (hexane) ภายใต้สภาวะการสกัดที่เหมาะสมจะให้ผลผลิตน้ำมันสูงสุด  37.35 กรัม / เมล็ดเงาะ 100 กรัม และในน้ำมันในเนื้อเมล็ดเงาะจะมี กรดอะแรคคิโดนิกสูงถึง 34.3 กรัม /น้ำมันเมล็ดเงาะ 100กรัม ซึ่งกรดอะแรคคิโดนิกสูงช่วยให้ไขมันมีเสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น  (oxidation reaction) ประกอบกับคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีอื่นๆ ทำให้น้ำมันจากเมล็ดเงาะ เหมาะสมต่อการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง และก้าวขึ้นเป็นแหล่งพลังงานใหม่ที่มีศักยภาพและความยั่งยืนได้ในอนาคต

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527