เมษายน 2564
นายศรวุฒิ กิตติบัณฑร นักศึกษาปริญญาโท สาขา Material Future ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้เล็งเห็นว่าในแต่ละปีมีขนไก่ที่เป็นขยะเหลือทิ้งในยุโรปปีละกว่า 2.3 ล้านตัน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ขนไก่นั้นมีโปรตีนสูงมากจึงสามารถนำมาใช้แทนอาหารได้ ตนจึงได้ทำการวิจัยเพื่อแปรสภาพโปรตีนจากขนไก่มาเป็นอาหารเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ชื่อผลิตภัณฑ์ : |
สเต๊กจากขนไก่ |
ผู้คิดค้นและพัฒนา : |
นายศรวุฒิ กิตติบัณฑร |
แนวคิดผลิตภัณฑ์ : |
นายศรวุฒิ กิตติบัณฑร นักศึกษาปริญญาโท สาขา Material Future ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้เล็งเห็นว่าในแต่ละปีมีขนไก่ที่เป็นขยะเหลือทิ้งในยุโรปปีละกว่า 2.3 ล้านตัน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ขนไก่นั้นมีโปรตีนสูงมากจึงสามารถนำมาใช้แทนอาหารได้ ตนจึงได้ทำการวิจัยเพื่อแปรสภาพโปรตีนจากขนไก่มาเป็นอาหารเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว |
ลักษณะและจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ : |
ปัจจุบันเป็นเพียงอาหารต้นแบบที่ผลิตจากขนไก่ เมื่อได้ลองนำมาปรุงเป็นสเต๊ก และนักเก็ตไก่ แล้วนำให้ผู้บริโภคชิม พบว่า รสสัมผัสที่ได้มีความซับซ้อน ดูล้ำสมัยและพอชิมไปแล้วไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นโปรตีนที่ทำมาจากขนไก่ นอกจากนี้คุณหทัยรัตน์ ริมคีรี อาจารย์จากสาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ให้ความเห็นว่าโปรตีนจากขนไก่นี้มีศักยภาพที่จะกลายเป็นแหล่งอาหารทางเลือกได้ในอนาคต ซึ่งแนวคิดนี้ยังต้องผ่านขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาเพิ่มเติม และตอนนี้ผู้วิจัยกำลังหาทุนวิจัยเพื่อต่อยอดงานวิจัยนี้ |
ความเห็น : |
ในปัจจุบันอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกกำลังได้รับการศึกษาวิจัยเป็นอย่างมาก ซึ่งในก่อนหน้านี้เนื้อที่ผลิตจากโปรตีนพืชสำหรับกลุ่มวีแกนเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการทำปศุสัตว์ก็ได้มีการวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายแล้ว และเนื้อสัตว์จากขนไก่หากผู้วิจัยได้ทุนในการทำวิจัยเพื่อต่อยอด อาจได้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากขนไก่มาวางจำหน่ายในตลาดได้เช่นกัน |
ที่มา : https://www.matichon.co.th/foreign/news_2488834 สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563
download PDF ย้อนกลับ