สวัสดี

Technology & Innovation

“De Mangue” เครื่องดื่มไซเดอร์มะม่วงเบาไร้แอลกอฮอล์

เมษายน 2564

รายละเอียด :

“De Mangue” เครื่องดื่มไซเดอร์มะม่วงเบาไร้แอลกอฮอล์ เป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีปริมาณของน้ำตาลและไขมันต่ำ ให้ความสดชื่น อีกทั้งยังมีใยอาหารและสารแมงจิเฟอริน (Mangiferin) 

ผลิตภัณฑ์ :

“De Mangue” เครื่องดื่มไซเดอร์มะม่วงเบาไร้แอลกอฮอล์

ผู้คิดค้นและพัฒนา :

ผศ.ดร.ปุณณาณี สัมภวะผล กรรมการผู้จัดการบริษัท รวมทรัพย์เกษตร (ไทยแลนด์) จำกัด

แนวคิดของผลิตภัณฑ์ :

จากการลงพื้นที่เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับการผลิตมะม่วงเบาแช่อิ่ม ซึ่งมะม่วงเบาเป็นมะม่วงพันธุ์พื้นถิ่นทางภาคใต้โดยเฉพาะในจังหวัดสงขลาที่นิยมนำมาแปรรูปด้วยวิธีการแช่อิ่มเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา จากการวิจัยพบว่าในกระบวนการผลิตมะม่วงเบาแช่อิ่มเกิดของเหลือทิ้งระหว่างกระบวนการผลิตจำนวนมาก คือ น้ำเชื่อมสำหรับการแช่อิ่ม และเปลือกมะม่วงเบา เลยมีแนวคิดที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตดังกล่าว จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาต่อจนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ “De Mangue” เครื่องดื่มไซเดอร์มะม่วงเบาไร้แอลกอฮอล์

ลักษณะของผลิตภัณฑ์ :

“De Mangue” เครื่องดื่มไซเดอร์มะม่วงเบาไร้แอลกอฮอล์ เป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีปริมาณของน้ำตาลและไขมันต่ำ ให้ความสดชื่น อีกทั้งยังมีใยอาหารและสารแมงจิเฟอริน (Mangiferin) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ช่วยป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น ไขมัน ความดัน เบาหวาน ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน ลดการอักเสบ และยังช่วยให้ผู้ที่ดื่มรู้สึก สดชื่นและผ่อนคลาย “De Mangue” เครื่องดื่มไซเดอร์มะม่วงเบาไร้แอลกอฮอล์ ผลิตจากน้ำเชื่อมที่เกิดจากกระบวนการผลิตมะม่วงเบาแช่อิ่ม และเปลือกมะม่วงเบานำมาผ่านกระบวนการให้ความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อ แล้วนำไปหมักด้วยยีสต์สายพันธุ์เฉพาะ และบ่มในสภาวะที่เหมาะสม จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการกำจัดแอลกอฮอล์ออกจนหมดจนเป็นน้ำไซเดอร์มะม่วงเบาออกมา   

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ :

  • ให้ความสดชื่น และมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
  • มีใยอาหารและสารแมงจิเฟอริน (Mangiferin) สูง
  • ใช้ของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

ความเห็น :

จากของเหลือทิ้งที่หลายคนมองข้าม นำมาพัฒนาและต่อยอดด้วยนวัตกรรมก็สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพได้

 

 

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527