ธันวาคม 2561
ปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และพบว่าเมื่ออายุมากขึ้น ฟันจะมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุทำให้เคี้ยวอาหารได้ยากขึ้นจนทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านการบริโภค
ชื่อผลิตภัณฑ์ : |
พุดดิ้งผัก (Vegetable Pudding) |
ผู้คิดค้นและพัฒนา : |
ดร.ธัญญ์นลินน์ วิญญูประสิทธิ์ จากสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล |
แนวคิดของผลิตภัณฑ์ : |
ปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และพบว่าเมื่ออายุมากขึ้น ฟันจะมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุทำให้เคี้ยวอาหารได้ยากขึ้นจนทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านการบริโภคไม่สามารถรับประทานพวกเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ได้ ดังนั้นร่างกายจึงเริ่มมีการขาดสารอาหารจำพวกโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ จึงได้มีการคิดและค้นหาอาหารที่สามารถรับประทานได้ระหว่างมื้อที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และผู้สูงอายุของไทยสามารถทานได้ จึงได้มีการคิดค้นและพัฒนาพุดดิ้งขึ้นมาเนื่องจากมีความนุ่มและลื่น ผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันสามารถเคี้ยวและกลืนได้ง่าย อีกทั้งพุดดิ้งประกอบไปด้วยไข่ นม และน้ำตาล ซึ่งให้สารอาหารค่อนข้างครบถ้วน |
ลักษณะของผลิตภัณฑ์ : |
พุดดิ้งผัก (Vegetable Pudding) เป็นพุดดิ้งพร้อมบริโภคที่มีความนุ่มลื่น กลืนได้ง่าย มีคุณค่าทางโภชนาการและใยอาหารที่สูง ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยวิธีสเตอริไรส์ สามารถเก็บได้ในอุณหภูมิห้องโดยไม่ต้องแช่เย็น มีอายุการเก็บรักษานาน 6 เดือน ซึ่งแตกต่างจากพุดดิ้งตามท้องตลาดที่ต้องแช่เย็นและมีอายุการเก็บรักษาสั้น โดยพุดดิ้ง 1 หน่วยบริโภค มีพลังงานทั้งหมด 120 กิโลแคลอรี่ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมา 3 ชนิด คือ พุดดิ้งมันเทศ พุดดิ้งฟักทอง และพุดดิ้งข้าวโพด ซึ่งพุดดิ้งทั้ง 3 ชนิด มีสารสีเหลืองซึ่งในสารสีเหลืองดังกล่าวมีสารประกอบที่เรียกว่า รูทีนซีแซนทีน และเบตาแคโรทีนอยู่ โดยสารเหล่านี้มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยเรื่องสายตาสำหรับผู้สูงอายุ |
ความเห็น : |
เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายของผู้สูงวัยก็ร่วงโรย ฟันก็เป็นอีกอวัยวะที่ร่วงหลุดและผุพังจนเป็นอุปสรรคต่อการทานอาหาร เป็นเหตุให้ผู้สูงวัยที่ร่างกายอ่อนแอ ยิ่งขาดสารอาหารที่จำเป็น “พุดดิ้งผัก” จึงเป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่เป็นตัวช่วยให้ผู้สูงวัยได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย |
ที่มา : Mgronline. “พุดดิ้งผัก” งานวิจัยจากมหิดลช่วยผู้สูงวัยกินผักไม่ต้องเคี้ยว. https://mgronline.com/science/detail/9610000091164. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561.
สามารถติดตามข่าวสารกับ FIC ทางสังคมออนไลน์ ได้ที่ (http://www.facebook.com/NFI.FIC)
download PDF ย้อนกลับ