สิงหาคม 2560
แผ่นฟิล์มห่ออาหารที่ผลิตขึ้นจากโปรตีนนมเคซีน (Milk Protein Casein) นั้น สามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจนได้ดีกว่าฟิล์มพลาสติกใสถึง 500 เท่า และปัจจุบันมีแผ่นฟิล์มห่ออาหารที่สามารถทานได้ที่วางขายอยู่ในท้องตลาด ส่วนใหญ่ผลิตจากแป้งที่จะมีรูพรุนขนาดใหญ่ให้ก๊าซออกซิเจนสามารถซึมผ่านได้ง่าย ต่างกับแผ่นฟิล์มห่ออาหารที่ผลิตจากโปรตีนนมที่มีรูพรุนขนาดเล็ก ดังนั้น แผ่นฟิล์มห่ออาหารที่ถูกคิดค้นนี้จะช่วยป้องกันอาหารเน่าเสียได้ดีกว่าฟิล์มห่ออาหารทั่วไปในท้องตลาด นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถทานได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ชื่อผลิตภัณฑ์ : |
ฟิล์มห่ออาหารจากโปรตีนนม |
ผู้คิดค้นและพัฒนา : |
Tomasula และทีมวิจัยจากสำนักวิจัยเพื่อการเกษตร ประเทศสหรัฐอเมริกา |
แนวคิดของผลิตภัณฑ์ : |
บรรจุภัณฑ์ห่ออาหารส่วนใหญ่ผลิตจากน้ำมันปิโตเลียม ซึ่งกว่าจะย่อยสลายได้ใช้เวลากว่า 450 ปี ก่อให้เกิดเป็นขยะพลาสติกหลายตันในหนึ่งปี ผู้วิจัยจึงได้คิดค้นวัสดุห่ออาหารที่จะมาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว และวัสดุที่คิดค้นขึ้นจะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จนนำมาสู่การใช้โปรตีนนมเป็นวัตถุดิบในการผลิต |
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ : |
แผ่นฟิล์มห่ออาหารที่ผลิตขึ้นจากโปรตีนนมเคซีน (Milk Protein Casein) นั้น สามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจนได้ดีกว่าฟิล์มพลาสติกใสถึง 500 เท่า และปัจจุบันมีแผ่นฟิล์มห่ออาหารที่สามารถทานได้ที่วางขายอยู่ในท้องตลาด ส่วนใหญ่ผลิตจากแป้งที่จะมีรูพรุนขนาดใหญ่ให้ก๊าซออกซิเจนสามารถซึมผ่านได้ง่าย ต่างกับแผ่นฟิล์มห่ออาหารที่ผลิตจากโปรตีนนมที่มีรูพรุนขนาดเล็ก ดังนั้น แผ่นฟิล์มห่ออาหารที่ถูกคิดค้นนี้จะช่วยป้องกันอาหารเน่าเสียได้ดีกว่าฟิล์มห่ออาหารทั่วไปในท้องตลาด นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถทานได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย |
ความเห็น : |
ฟิล์มห่ออาหารจากโปรตีนนมสามารถรับประทานได้ เป็นนวัตกรรมที่ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ ผู้ประกอบการอาจนำนวัตกรรมดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่ตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ |
ที่มา : http://www.vcharkarn.com/vnews/ สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2560
http://www.takieng.com/stories/1543 สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2560
download PDF ย้อนกลับ