สวัสดี

Technology & Innovation

นวัตกรรม ‘ตะเกียบกินได้’ จากแดนปลาดิบ

พฤษภาคม 2560

รายละเอียด :

ตะเกียบกินได้ทำมาจาก หญ้าอิกุสะ ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของจังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมถูกนำมาผลิตทำเป็นเสื่อทาทามิ โดยตะเกียบดังกล่าวมีคอนเซ็ปต์ว่า ใช้คีบอาหารแล้ว ยังสามารถรับประทานได้

ชื่อผลิตภัณฑ์ :

ตะเกียบกินได้

ผู้คิดค้นและพัฒนา :

บริษัท Marushige Confectionery จากประเทศญี่ปุ่น

ลักษณะของผลิตภัณฑ์ :

ตะเกียบกินได้ทำมาจาก หญ้าอิกุสะ ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของจังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมถูกนำมาผลิตทำเป็นเสื่อทาทามิ โดยตะเกียบดังกล่าวมีคอนเซ็ปต์ว่า ใช้คีบอาหารแล้ว ยังสามารถรับประทานได้ โดยแนวคิดของการทำ ‘ตะเกียบกินได้’ เกิดขึ้นจากมุมมองที่ว่าตะเกียบในท้องตลาดที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล หรือตะเกียบใช้แล้วทิ้งของประเทศญี่ปุ่น ก่อให้เกิดปัญหาขยะที่เพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

กระบวนการผลิต

นำหญ้าอิกุสะ ที่ปลูกด้วยกรรมวิธีแบบเกษตรอินทรีย์ มาบดให้ละเอียด ขึ้นรูปเป็นตะเกียบแล้วนำไปอบจนกลายเป็นตะเกียบกินได้

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ :

  1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  2. ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมและอนุรักษ์พืชพื้นบ้านของประเทศญี่ปุ่น
  3. ลดปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น
  4. ตะเกียบ 1 คู่ จะมีปริมาณเส้นใยอาหารเท่ากับรับประทานผักสลัด 1 จาน

ความเห็น :

ตะเกียบกินได้ เป็นนวัตกรรมที่ช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นที่ต้องใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหาร จากสิ่งเล็ก ๆ รอบตัวเหล่านี้ เพียงไม่มองข้ามก็ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและบุคคลรอบข้างได้  

ที่มา  :  rabbit daily. วิถีลดขยะสไตล์แดนปลาดิบกับนวัตกรรมตะเกียบกินได้!.https://daily.rabbit.co.th/. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560.

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527