ธันวาคม 2559
Chemocatalytic technology (กระบวนการผลิตสารให้ความหวานด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะ (Metal catalyst)) เป็นการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะในกระบวนการผลิตสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่มีแคลอรีต่ำ โดยขั้นตอนแรกจะใช้ molybdenum เป็นตัวเร่งปฏิกริยาในการจัดเรียงอะตอมของน้ำตาล
ชื่อกระบวนการ : |
Chemocatalytic technology (กระบวนการผลิตสารให้ความหวานด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะ (Metal catalyst)) |
ผู้คิดค้นและพัฒนา : |
University of Zurich และ The Barcelona Institute of Science and Technology |
ลักษณะของกระบวนการ :
|
เป็นการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะในกระบวนการผลิตสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่มีแคลอรีต่ำ โดยขั้นตอนแรกจะใช้ molybdenum เป็นตัวเร่งปฏิกริยาในการจัดเรียงอะตอมของน้ำตาล และเข้าสู่ขั้นตอนที่สอง การไฮโดรจิเนชัน (hydrogenation) โดยการใช้ ruthenium เป็นตัวเร่งปฏิกริยา เป็นขั้นตอนการเติมไฮโดรเจนเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลของสาร การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะทั้ง 2 ชนิด จะช่วยเพิ่มความเร็วในการผลิตสารให้ความหวานและลดของเสียระหว่างการผลิต ซึ่งโลหะทั้ง 2 ชนิดนิยมใช้เป็นตัวเร่งปฎิกิริยาในอุตสาหกรรมอื่น เช่น การผลิตแอมโมเนีย ตัวเร่งปฏิกริยาการแตกตัวของน้ำมันรถยนต์ เป็นต้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมนิยมใช้เอนไซม์รวมกับไฮโดรเจนในการผลิต ซึ่งในกระบวนการต้องควบคุมอุณหภูมิ ความเข้มข้นและค่า pH อย่างเคร่งครัด จึงมีผลต่อการผลิตสินค้าที่ต้องผลิตครั้งละมาก ๆ |
จุดเด่นของกระบวนการ : |
|
ความเห็น : |
กระบวนการผลิตนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนในการผลิตสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจึงส่งผลให้อุตสาหกรรมลูกอม หมากฝรั่ง เครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีต้นทุนด้านวัตถุดิบที่ลดลง |
ที่มา : Foodnavigator. Novel process promises cheaper and greener sweeteners. http://www.foodnavigator.com/Science/Novel-process-promises-cheaper-and-greener-sweeteners. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559.
download PDF ย้อนกลับ