สวัสดี

Technology & Innovation

เซ็นเซอร์ประมวลผลอุณหภูมิ และความชื้นในโรงเลี้ยงเป็ด ไก่

สิงหาคม 2558

รายละเอียด :

อุณหภูมิและความชื้นในอากาศเป็นสิ่งสำคัญต่อกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม 

มีการเลี้ยงเป็ดและไก่ในโรงเรือนกันอย่างแพร่หลาย ในกระบวนการเลี้ยงเป็ดและไก่ การควบคุมสภาพอากาศภายในโรงเรือนเป็นเรื่องที่ผู้เลี้ยงให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น และปัจจัยอื่นๆ ล้วนมีผลต่อการเจริญเติบโตของเป็ดและไก่ทั้งสิ้น โรงเรือนต่างๆ จึงต้องมีการติดตั้งเซ็นเซอร์และอุปกรณ์ประมวลผลเพื่อช่วยควบคุมและตรวจสอบค่าอุณหภูมิและความชื้นให้ตรงตามข้อกำหนดของกระบวนการ  การเลี้ยงเพื่อให้ได้เป็ดและไก่ที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค แต่ปัจจุบันการติดตั้งเซ็นเซอร์วัดความชื้นและเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ในโรงเรือนมีการติดตั้งแยกชุด และมีหลากหลายยี่ห้อ โดยแต่ละชุดจะใช้ตัวควบคุมการทำงานซึ่งเป็นตัวประมวลผลของโรงเรือนที่หลากหลาย แยกตามชนิดของเซ็นเซอร์ ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ อีกทั้งชุดอุปกรณ์เหล่านี้ยังต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ จึงส่งผลต่อการติดตั้งระบบควบคุมโรงเรือน และการบำรุงรักษาเครื่องมือที่มีราคาค่อนข้างสูง

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักวิศวกรรมสายธุรกิจไก่-เป็ด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จึงได้พัฒนาอุปกรณ์ประมวลค่าความชื้นและอุณหภูมิที่สามารถเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ได้ทุกยี่ห้อ อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับระบบควบคุมการเลี้ยงของโรงเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการทดสอบพบว่า อุปกรณ์ประมวลค่าดังกล่าวสามารถช่วยลดข้อจำกัดของการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ได้หลายประเภท และเชื่อมต่อได้กับทุกยี่ห้อ ส่งผลให้บริษัทซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ลดการสั่งซื้ออุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ลดต้นทุนจากราคาเครื่องละ 11,000 บาท เหลือเพียง 1,500 บาท ซึ่งลดลงจากเดิมถึง 86 % นับเป็นนวัตกรรมที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษบกิจ และสามารถขยายขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยได้

ที่มา : Eureka. เซ็นเซอร์เลี้ยงไก่-เป็ด. http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/633658. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2558.
(สามารถติดตามข่าวสารกับ FIC ทางสังคมออนไลน์ ได้ที่ http://www.facebook.com/nfi.fic)

เรียบเรียงโดย 
นางสาวสุจิตต์  ภิญโญ
ติดต่อ : sujit@nfi.or.th

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527