พฤษภาคม 2558
กลไกการสร้างอาการเผ็ดนั้นจะเริ่มจากการที่มีสารแคปไซซินไปจับกับต่อมรับรสในตุ่มรับรสบนลิ้น และเนื้อเยื่อ ในปากหรือพื้นที่ผิวสัมผัสในร่างกาย จากนั้นต่อมรับรสจะส่งสัญญาณเผ็ดร้อนไปยังสมอง คล้ายการสัมผัสของร้อน และเมื่อสมองได้รับสัมผัสความแสบร้อนหรือเผ็ดในปาก ก็จะทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น อาการแสบร้อนในช่องปาก อาการเหงื่อออก หน้าแดง เป็นต้น
กลไกการสร้างอาการเผ็ดนั้นจะเริ่มจากการที่มีสารแคปไซซินไปจับกับต่อมรับรสในตุ่มรับรสบนลิ้น และเนื้อเยื่อ ในปากหรือพื้นที่ผิวสัมผัสในร่างกาย จากนั้นต่อมรับรสจะส่งสัญญาณเผ็ดร้อนไปยังสมอง คล้ายการสัมผัสของร้อน และเมื่อสมองได้รับสัมผัสความแสบร้อนหรือเผ็ดในปาก ก็จะทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น อาการแสบร้อนในช่องปาก อาการเหงื่อออก หน้าแดง เป็นต้น
จึงเป็นที่มาของการพัฒนาผลิตภัณฑ์แก้เผ็ดขึ้น โดยนักวิจัยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์แก้เผ็ด เพื่อลดอาการเผ็ดร้อนจากการรับประทานอาหารรสจัด ที่มีลักษณะเป็นของเหลวที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติถึงกว่า 99% และส่วนที่เป็นวัตถุเจือปนอาหาร ที่องค์การอาหารและยาอนุญาตให้ใช้ โดยก่อนรับประทานให้เขย่าขวดให้ทั่วแล้วกลั้วในปากสักครู่ทั่วพื้นที่ที่มีความเผ็ด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์แก้เผ็ดเข้าไปจับกับแคปไซซิน ที่ยังไม่ถูกดูดซึมลงในเนื้อเยื่อเพื่อรอการชะล้างหรือกำจัดออกไปจากต่อมรับรส จากการกลืนน้ำลายหรือดื่มน้ำเปล่าตามอีกครั้ง ส่งผลให้ความเผ็ดร้อน อาการแสบร้อนค่อยๆ บรรเทาลงจนกระทั่งหายไปในที่สุด กอปกับผลิตภัณฑ์แก้เผ็ดพริกยังมีน้ำตาลหรือสารให้ความหวาน ซึ่งจะไปจับกับต่อมรับรสใหม่ แล้วส่งสัญญาณไปที่สมอง ทำให้เกิดการประมวลผลใหม่ว่าขณะนี้ไม่มีอาการแสบร้อนแล้ว แต่มีรสหวานเข้ามาแทนที่ อาการเหงื่อออก เลือดสูบฉีดต่างๆ ก็จะหายไป โดยได้ทำการทดลองกับผู้ทดสอบจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ผู้ทดลองบางรายบอกว่าอาการเผ็ดหายไปทันที บางรายบอกว่าหายไป แต่ยังหลงเหลืออาการอยู่บ้าง ซึ่งทีมวิจัยกำลังศึกษาในเรื่องปริมาณการดื่มต่อไปว่า ควรดื่มในปริมาณเท่าไรจึงจะเหมาะสม
ผลิตภัณฑ์แก้เผ็ดนี้เป็นผลงานพัฒนาของนักวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งยังไม่มีออกจำหน่าย เนื่องจากงานวิจัยนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการติดต่อกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มที่คาดว่าจะพร้อมออกสู่ตลาดช่วงต้นปี พ.ศ. 2558 โดยอาจมีการพัฒนาขึ้นในรูปแบบของลูกอม หมากฝรั่งและรูปแบบผงที่สามารถละลายน้ำชงดื่มได้
download PDF ย้อนกลับ