สวัสดี

อุตสาหกรรมอาหารโลกไตรมาสที่ 3 ปี 2564 และแนวโน้ม

แชร์:
Favorite (38)

กันยายน 2564

การค้าอาหารโลกในไตรมาสที่ 3/2564 มีมูลค่า 370 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ส่วนปริมาณการค้าลดลงร้อยละ 15.0 โดยมูลค่าการค้าที่เพิ่มขึ้นมาจากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญที่กดดันทั้งภาคการผลิตและการบริโภคภาคครัวเรือน

ภาคธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานอาหารทั่วโลกเริ่มทะยอยปรับขึ้นราคาสินค้าเพื่อลดความกดดันด้านต้นทุนและรักษาอัตรากำไรของบริษัท หลายบริษัทมีการทบทวนกลยุทธ์ด้านราคา ขณะเดียวกันก็มีกิจการจำนวนไม่น้อยที่มีแผนจะปรับขึ้นราคาสินค้าภายในสิ้นปีนี้

กำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนตัวลงตามภาวะเงินเฟ้อที่มาจากปัจจัยด้านต้นทุน (Cost push inflation) รวมถึงความไม่มั่นคงทางรายได้จากผลกระทบของ COVID-19 ผู้บริโภคในหลายประเทศทั่วโลกเริ่มเผชิญกับราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น สวนทางกับแรงงานบางส่วนต้องถูกเลิกจ้าง ทำให้ผู้คนโดยรวมในสังคมมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารโลกในที่สุด

อย่างไรก็ตาม องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และธนาคารโลกคาดการณ์ว่าราคาอาหารโลกจะลดลงในปี 2565 เนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการบริโภคมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูเศรษฐกิจยาวนานกว่าประเทศพัฒนาแล้ว

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527