สวัสดี

อุตสาหกรรมอาหารโลกไตรมาสที่ 2 ปี 2563 และแนวโน้ม

แชร์:
Favorite (38)

มิถุนายน 2563

การผลิต ภาพรวมการผลิตอุตสาหกรรมอาหารโลกในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หดตัวลงเพราะถูกกดดันจากสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทำให้กิจกรรมการผลิตชะลอตัวลง แม้ในช่วงต้นจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนก (Panic) จนเกิดภาวะการกักตุนสินค้าอาหารจำเป็น แต่สถานการณ์ดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ตลาดเกิดการขยายตัวได้ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับอุปสงค์โดยรวมที่ลดลงตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ภายใต้มาตรการ Lockdowns ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยองค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) คาดการณ์ว่าผลผลิตสินค้าอาหารในปี 2563 ส่วนใหญ่หดตัวลงทั้งหมด ได้แก่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล พืชน้ำมัน และน้ำตาล จะมีเพียงกลุ่มสินค้าธัญพืช นมและผลิตภัณฑ์เท่านั้นที่ผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ตารางที่ 1 ผลผลิตอาหารโลก ปี 2563

 

2561

2562

2563f

%D

ธัญพืช

2,649

2,711

2,781

2.6%

พืชน้ำมัน

582

601

573

-4.7%

น้ำตาล

181

175

170

-2.9%

เนื้อสัตว์

342

339

333

-1.7%

นมและผลิตภัณฑ์

841

852

859

0.8%

อาหารทะเล (สัตว์น้ำ)

182

179

176

-1.7%

 

ที่มา: FAO

ปัจจุบันผู้ที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมอาหารโลกมีประเทศสำคัญ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล อินเดีย ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป โดยสหรัฐฯ และจีน อยู่ในฐานะประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภค ส่วนบราซิลและอินเดียจัดอยู่ในกลุ่มประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าไปสู่ตลาดโลก ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปโดดเด่นด้านการเป็นผู้บริโภคมากกว่าการเป็นผู้ผลิต เพราะผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในเป็นหลัก

กลุ่มสินค้าอาหารหลักที่ผลิตได้ในตลาดโลก แบ่งออกได้เป็น 6 กลุ่มใหญ่ๆ ประกอบด้วย ธัญพืช นมและผลิตภัณฑ์ พืชน้ำมัน เนื้อสัตว์ อาหารทะเล (สัตว์น้ำ) และน้ำตาล โดยมีสัดส่วนร้อยละ 57, 17, 12, 7, 4 และ 3 ของผลผลิตอาหารโลกทั้ง 6 รายการรวมกัน ตามลำดับ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527