สวัสดี

พฤติกรรมผู้บริโภคเชียงตุงประเทศเมียนมาร์

แชร์:
Favorite (38)

ธันวาคม 2558

เมืองเชียงตุง (Kyaing tong) เป็นจังหวัดหนึ่งในรัฐฉาน (Chan State) ประเทศเมียนมาร์ อยู่ติดกับประเทศไทย จีน และสปป.ลาว เป็นเมืองของชาวไทเขินและไทใหญ่ ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเทียบเท่าเมืองเชียงใหม่ แห่งล้านนาไทย และเมืองเชียงรุ่งหรือเมืองจิ่งหงแห่งสิบสองปันนา โดยชาวไทใหญ่เรียกชื่อเมืองนี้ว่า เก็งตุ๋ง (Keng tung) ในอดีตเชียงตุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางการค้าเชื่อมต่อระหว่างสิบสองปันนากับล้านนา โดยมีพ่อค้าชาวจีนฮ่อเดินทางไปมาค้าขายในเส้นทางนี้

ภาพที่ 1 แผนที่เมืองเชียงตุง เมียนมาร์ 

เชียงตุงเป็นเมืองที่อยู่บนเส้นทางไปสู่เมืองหลวงของอาณาจักรต่างๆ ในสมัยโบราณ จึงมีความสำคัญอย่าง ยิ่งทางยุทธศาสตร์ ซึ่งเห็นได้ว่ามักเกิดสงครามในพื้นที่นี้อยู่บ่อยครั้ง เราได้เห็นถึงสภาพที่ตั้งของเมืองเชียงตุง อันเป็นศูนย์กลางของพื้นที่ว่า ได้ถูกสร้างเป็นเมืองป้อมปราการบนที่สูงสำหรับใช้ในการตั้งรับข้าศึกเป็นสำคัญ คนสมัยโบราณสร้างเพียงกำแพงดินกำแพงอิฐ และคูเมืองเป็นช่วงๆ โดยมีการเชื่อมต่อกับเนินเขาหลายๆ ลูก ภายใน 

1* รัฐฉานตั้งอยู่ตอนกลาง-ตะวันออกของเมียนมาร์ มีพื้นที่ 155,801 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือติดกับรัฐคะฉิ่น ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับยูนนานของ จีน ทิศตะวันออกติดกับสปป.ลาว ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับไทย ทิศใต้ติดกับรัฐคะยา และทิศตะวันตกติดกับมัณฑะเลย์ และเขตปกครอง  สะกาย เมียนมาร์ รัฐฉานแบ่งออกเป็น 3 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือมี “เมืองล่าเสี้ยว” เป็นศูนย์กลาง ภาคใต้มี “เมืองตองจี” เป็นศูนย์กลาง และภาคตะวันออก มี “เมืองเชียงตุง” เป็นศูนย์กลางใจกลางเมืองมีหนองน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งสำหรับการอุปโภคและบริโภค และมีพื้นที่ราบลุ่มโดยรอบอุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตเสบียงอาหารเลี้ยงผู้คนได้อย่างเพียงพอ  

ความสำคัญทางเศรษฐกิจนั้น เชียงตุงยังเป็นศูนย์กลางการค้าเส้นทางผ่าน และจุดแลกเปลี่ยนสินค้าของ กองคาราวานระหว่างพ่อค้าชาวจีน ชาวไทใหญ่ โดยกลุ่มพ่อค้าทางไกลสามารถเดินทางลงทางใต้ไปยัง  เมืองเชียงราย เชียงใหม่  ถึงเมืองมะละแหม่ง และทางตะวันตกไปยังเมืองแสนหวี สีป้อ มัณฑะเลย์ นับเป็นเส้นทาง การค้าโบราณที่สร้างความมั่งคั่งกับเชียงตุงกับกลุ่มพ่อค้าต่างๆ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เห็นได้ชัดคือช่วงต้น คริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่ออังกฤษต้องการเปิดเส้นทางการค้าไปยังดินแดนจีนตอนใต้ จึงจัดส่งเจ้าหน้าที่สำรวจ เส้นทางและบ้านเมือง โดยได้บันทึกเรื่องราวความเป็นไปของสังคมและวัฒนธรรมของการเดินทางสู่เชียงต่างๆ อย่างละเอียด กล่าวคือ หากเดินทางจากเมืองมะละแหม่งไปเชียงใหม่นั้นต้องใช้เวลา 17 วัน จากเชียงใหม่ไปเชียง ตุงใช้เวลา 15 วัน และจากเชียงตุงไปเชียงรุ่งใช้เวลา 5 วัน เป็นต้น เมื่อเชียงตุงเป็นจังหวัดหนึ่งของราชอาณาจักร ไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลได้สร้างถนนสำหรับการติดต่อสื่อสารไปยังเชียงตุงทำให้เกิดการติดต่อง่ายมากขึ้น ตราบกระทั่งปัจจุบันได้ถูกกำหนดเป็นเส้นทางการค้าในโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจระหว่างจีน–เมียนมาร์–ไทย–สปป.ลาว ที่สร้างความเจริญทางด้านเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคนี้ 

เชียงตุงตั้งอยู่ในรัฐฉาน 2 เฉพาะในเมืองเชียงตุงมีประชากรประมาณ 171,620 คน แต่หากรวมเมืองบริวารใกล้เคียงอย่างเมืองแพก เมืองเมิง เมืองยอง เมืองยาง และเมืองลาจะมีประชากร 366,861 คน เชียงตุง ประกอบด้วยหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทขึนหรือไทเขิน3 รองลงมาเป็นชาวไทใหญ่ และชาวเมียนมาร์ นอกจากนี้เชียงตุงยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อาศัยอยู่กระจัดกระจายอีกมากมาย อาทิ อาข่า     ปะด่อง ว้า ลาฮู ลีซอ ลัวะ ฯลฯ  เส้นทางเศรษฐกิจสำคัญของเมียนมาร์ด้านเหนือคือเส้นทางจากท่าขี้เหล็กไปยังเมืองเชียงตุงที่มีระยะทาง ประมาณ 163 กิโลเมตร เส้นทางดังกล่าวจะผ่านหมู่บ้านต่างๆ ที่ชาวบ้านเดินทางมาซื้อของจากอำเภอแม่สาย ประเทศไทย และในระยะหนึ่งมีเส้นทางเดินรถบรรทุกเพื่อบรรทุกสินค้าไปขายยังเชียงตุง เมืองลา ไปถึงเชียงรุ่ง แต่ ด้วยระยะทางที่ต้องผ่านชนกลุ่มน้อย กล่าวกันว่าต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายให้กับกองก าลังชนกลุ่มน้อย สร้างต้นทุน ให้กับผู้ประกอบการจนเห็นว่าไม่คุ้มกับการขนส่งสินค้า อาหารดั้งเดิมของชาวเชียงตุงมีข้าวเจ้าและแป้งข้าว แป้งถั่ว แป้งมันฝรั่งเป็นอาหารหลัก นิยมใช้พืชตามป่า เขาที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมาปรุงอาหาร โดยวิธีการปรุงมักจะปรุงให้สุกมากๆ โดยเฉพาะอาหารประเภทผัดหรือต้ม จะปรุงจนกระทั่งผักมีความนุ่ม ใช้เครื่องปรุงรสเฉพาะของภูมิภาค อาทิ มะเขือเทศ ขิง ข่า ตะไคร้ เคี่ยวต่อจนข้น นิยมรับประทานถั่วเน่าแผ่น ซึ่งท าจากถั่วเหลืองต้มหมักกับเกลือจนนุ่ม น าไปโม่แล้วละเลงเป็นแผ่นตากแดดให้ แห้งปิงแล้วท าเป็นผง ใส่ผักและเครื่องเทศที่ใช้เป็นผัก 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527