สวัสดี

แนวโน้มสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์ในรัสเซีย

แชร์:
Favorite (38)

มกราคม 2552

รัสเซียอดีตประเทศคอมมิวนิสต์ที่ยิ่งใหญ่ภายใต้สมญานามดินแดนผลังม่านเหล็ก รัสเซียเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุม 2 ทวีป

คือ ยุโรปและเอเชีย ปัจจุบันรัสเซียกลายเป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาเกิดใหม่ (Emerging Market) ที่มีการเติมโตทางเศรษฐกิจที่สูง (World Bank คาดการณ์ว่า GDP ของรัสเซียมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 7 ในปี 2551) ซึ่งหมายถึงประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น รัสเซียจึงเป็นตลาดที่นักธุรกิจหรือนักลงทุนต่างชาติให้ความสำคัญ โดยเฉพาะสินค้าอาหาร เนื่องจากรัสเซียไม่สามารถผลิตอาหารได้อย่างเพียงพอกับความต้องการ
 

รัสเซียประเทศผู้พึ่งการนำเข้าสินค้าอาหารเป็นหลัก

สภาพภูมิอากาศในรัสเซียโดยรวมจัดเป็นประเทศในเขตหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยนต่อปีอยู่ที่ประมาณ 2-4 องศาเซลเซียสเท่านั้น (มอสโคว เซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก) ช่วงฤดูหนาวยาวนานถึง 6 เดือน (ต.ค.-มี.ค.) ทำให้มีช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกน้อย รัสเซียจึงต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารเป็หลัก โดยรัสเซียขาดดุลการค้าในด้านสินค้าเกษตรและอาหารในปี 2550 ประมาณ 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

การค้าสินค้าอาหารรัสเซีย

ในปี 2550 รัสเซียมีการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารมูลค่ารวม 23,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่มีการส่งออกเพียง 7,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ บราซิล ยูเครน สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และจีน ตามลำดับ สินค้าเกษตรและอาหารนำเข้าที่สำคัญได้แก่สินค้าประเภท เนื้อสัตว์ ผลไม้/ถั่ว เครื่องดื่ม ประมง และน้ำตาล ตามลำดับ

สำหรับการนำเข้าสินค้าเกษตรแบะอาหารจากไทยนั้น พบว่า ในปี 2550 ไทยเป็นแหล่งนำเข้าของรัสเซียในอันดับที่ 35 มีมูลค่ารวม 163 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยกลุ่มสินค้าอาการที่รัสเซียนำเข้าจากไทยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ข้าว (ร้อยละ 14.78) สับปะรดบรรจุกระป๋อง (ร้อยละ 14.68) ข้าวโพดหวาน (ร้อยละ 8.72) กุ้งแช่แข็ง (ร้อยละ 6.53) และน้ำตาล (ร้อยละ 6.25) ตามลำดับ และพบว่า กลุ่มสินค้าข้าวที่ไทยส่งออกไปตลาดรัสเซียมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยในช่วงปี 2546-2550 สูงขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 58 ผู้ประกอบการไทยจึงควรให้ความสนใจและมองหาโอกาสในการเข้าไปขยายตลาดข้าวในรัสเซีย

 

 

รูปภาพที่ 1  สัดส่วนมูลค่านำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารของรัสเซียจำแนกตามแหล่งนำเข้า ปี 2500 
ที่มาซ Global Trade Atlas,2551

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527