เมษายน 2567
การบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ในประเทศไทยโดยรวมในประเทศไทยเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ภายหลังวิกฤตโควิด-19 โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ในประเทศไทยเป็นอาหารโปรตีนที่เข้าถึงได้ง่ายและมีราคาไม่สูงจนเกินไป ส่งผลทำให้ ตลาดยังคงถูกขับเคลื่อนจากปริมาณผลผลิตและราคาเนื้อสัตว์เป็นหลัก อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีผลิตภัณฑ์โปรตีนทดแทนที่มาจากกระบวนการสังเคราะห์รวมถึงมาจากพืชเข้ามาจับตลาดในกลุ่มผู้บริโภคคนรุ่นใหม่มากขึ้น ปัจจัยดังกล่าวก็อาจส่งผลทำให้ตลาดเนื้อสัตว์มีโอกาสอ่อนตัวลงได้ในระยะยาว
อาหารโปรตีนเนื้อสัตว์ที่คนไทยบริโภคส่วนใหญ่ประกอบด้วย เนื้อไก่ และเนื้อหมูเป็นหลัก เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ มีการบริโภคปริมาณเพียงเล็กน้อย โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเลือกบริโภคเนื้อไก่ และเนื้อหมู หมุนเวียนกันไปตามฐานะเศรษฐกิจ รวมถึงราคาดังกล่าวในขณะนั้น
ปัจจุบันปริมาณมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ของไทยมีมูลค่า 172พันล้านบาท ประกอบด้วย มูลค่าตลาด เนื้อหมูและเนื้อไก่ในสัดส่วนเท่าๆ กัน ที่ผ่านมาตลาดเนื้อสัตว์ของไทยได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ประกอบกับ มีปัญหาโรคระบาด (ASF) ในสุกรที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ส่งผลทำให้ผลผลิตไม่เพียพอกับความต้องการ ราคาปรับตัวสูงขึ้น
ราคาเนื้อสัตว์ส่วนใหญ่จะเคลื่อนไหวตามอุปสงค์อุปทานตลาด ขนาดที่การบริโภคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ โดยในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยเช่น กรณีของเนื้อหมู ราคาเนื้อหมูก็จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นผู้บริโภคก็จะหันไปบริโภคเนื้อไก่ที่มีราคาถูกทดแทน โดยทั่วไปราคาเนื้อไก่ ต่อ 1 กิโลกรัม จะมีราคา 1 ใน 3 ของราคาเนื้อหมู
download PDF ย้อนกลับ