สวัสดี

ตลาดนมเปรี้ยว

แชร์:
Favorite (38)

มีนาคม 2567

การบริโภคโยเกิร์ตและนมเปรี้ยวโดยรวมในประเทศไทยเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ภายหลังวิกฤตโควิด-19 โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวเป็นอาหารที่มีประโยชน์และดีต่อสุขภาพ เหมาะสำหรับการรับประทานเป็นอาหารเช้าหรืออาหารว่าง โดยเฉพาะโยเกิร์ตธรรมชาติที่ผู้บริโภคมีความต้องการเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้ผลิตต่างนำเสนอผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านสุขภาพของผู้บริโภคมากขึ้น อาทิ ไขมันต่ำ หรือน้ำตาล 0% ซึ่งสอดรับกับนโยบายภาษีน้ำตาลของรัฐบาลอีกด้วย โดยยอดขายโยเกิร์ตและนมเปรี้ยวในประเทศไทยปี 2566 มีมูลค่า 30,035.60 ล้านบาท สูงกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ในประเทศไทยมีโยเกิร์ตและนมเปรี้ยวพร้อมดื่มเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวแต่งกลิ่นรส และโยเกิร์ตธรรมชาติ ตามลำดับ โดยผู้ผลิตโยเกิร์ตและนมเปรี้ยวที่สำคัญมี 2 รายใหญ่ ได้แก่ ดัชมิลล์ และยาคูลท์ เป็นผู้นำในด้านโยเกิร์ตและนมเปรี้ยวในปี 2566 อย่างไรก็ตาม ดัชมิลล์ ยังคงเป็นผู้เล่นที่สามารถครองส่วนแบ่งทางการได้มากถึงร้อยละ 40 โดยจำหน่ายผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวที่มีความหลากหลาย ทั้งชนิดและรสชาติที่สอดคล้องกับแนวโน้มการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและไลฟ์สไตล์ ควบคู่กับความมุ่งเน้นที่คุณค่าเชิงฟังก์ชั่นที่เพิ่มมากขึ้นในแง่ชองการบริโภค ซึ่งล่าสุดได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม ที่มีโพรไบโอติก LGG และการกล่าวอ้างวิตามินซีสูง  

ในระหว่างปี 2566 มีผู้เล่นรายใหม่อย่างบริษัท เซาท์เทิร์นแดรี่ จำกัด ได้ก้าวเข้าสู่ตลาดโยเกิร์ตและนมเปรี้ยวของไทย โดยเปิดตัวผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวพร้อมดื่มในบรรจุภัณฑ์ซองเพ้าช์ที่มีฝาล็อกด้านบน ขนาดบรรจุ 135 มิลลิลิตร (ขนาดพอดีมือ สะดวกแก่การพกพา) ภายใต้ชื่อแบรนด์ออลซีซัน (All Season) มีรสชาติให้เลือกหลายหลายอาทิ สตรอเบอร์รี่ มะพร้าว วานิลลา และรสธรรมชาติ ซึ่งเป็นโยเกิร์ตและนมเปรี้ยวพร้อมดื่มที่ผ่านการหมักด้วยจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส บุลการิคัส และสเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลัส ทีช่วยให้สามารถผลิตกรดแลคติคสำหรับการหมัก จึงเป็นโยเกิร์ตที่เป็นธรรมชาติทั้งหมด

ทั้งนี้ หลังโควิด-19 ผู้บริโภคกลับมาให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้ความต้องการโยเกิร์ตและนมเปรี้ยวที่มีไขมันต่ำ หรือน้ำตาล 0% รวมถึงความต้องการโยเกิร์ตธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นที่นอกจากจะนำมารับประทานทันทีแล้ว ยังนำไปปรุงอาหารและเป็นส่วนประกอบในอาหารสำหรับผู้บริโภคที่มีฐานะดีและให้ความสำคัญกับสุขภาพอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ผลิตจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องภาษีน้ำตาล จึงนิยมลดปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ลงให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527