สิงหาคม 2566
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งแต่ปี 2536 ไต้หวันได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีการประเมินว่าเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีคือ 8% สภาเพื่อการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจ (the Council for Economic Planning and Development: CEPD) ประมาณการว่าผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะมากกว่า 20% ในปี 2568 ซึ่งหมายความว่าไต้หวันจะกลายเป็น "สังคมสูงวัย" ในไม่ช้า
ผู้บริโภคไต้หวันเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูงและไม่อ่อนไหวต่อราคา นับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2565 ที่ไต้หวันยกเลิกมาตรการกักกันที่ด่านพรมแดน ชีวิตได้กลับสู่ภาวะปกติ ความต้องการเนื้อสัตว์แช่แข็งและอาหารทะเลลดลง ในขณะที่ความต้องการอาหารพร้อมรับประทานมีแนวโน้มสูงขึ้น และน่าสังเกตว่าความต้องการ อาหารเสริมและอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น คอมบูชา คอลลาเจนกัมมี่ และชานมเวย์โปรตีน สุขภาพโดยรวม ความสะดวกสบาย และความสุข ได้กลายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคชาวไต้หวันมองหาในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
ไต้หวันนับเป็นชุมชนมังสวิรัติที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกรองจากอินเดียและอิสราเอล จากข้อมูลของ World Atlas ไต้หวันมีสัดส่วนของผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติสูง ประมาณ 14% ของประชากรทั้งหมด (ประมาณ 3.27 ล้านคน) การบริโภคมังสวิรัติไม่ได้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากความเชื่อทางศาสนาในท้องถิ่นของศาสนาพุทธเท่านั้น แต่ Gen Z ของไต้หวันก็แสดงความสนใจอย่างมากในวิถีชีวิตมังสวิรัติ จะเห็นได้จากยอดขายนมจากพืชในไต้หวันสูงถึง 228.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2564 มีอัตราเพิ่มขึ้น 66% จากปี 2557 หลังจาก Oatly เข้าสู่ตลาดในปี 2562 ยอดขายนมจากพืชเพิ่มขึ้น 5.11% ในขณะที่นมสัตว์เพิ่มขึ้น 4.16% ในปี 2564 ยอดขายนมจากพืช ขยายตัว 10.57% ในขณะที่น้ำนมสัตว์ขยายตัว 2.18% ท่ามกลางการเติบโต ยอดขายนมโอ๊ตที่มีอัตราเติบโตสูงสุดที่ 13.92% จากสถิติแสดงให้เห็นว่านมจากพืช ไม่ได้ทำให้ขนาดตลาดของนมสัตว์ลดลง แต่มันขัดขวางการเติบโตของนมจากสัตว์ให้ลดลง
download PDF ย้อนกลับ