สวัสดี

ตลาดผลิตภัณฑ์ไอศกรีม

แชร์:
Favorite (38)

สิงหาคม 2566

ตลาดไอศกรีมของไทยปี 2565 มูลค่า 12,173 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 0.3 มีปัจจัยสนับสนุนจากความนิยมรับประทานไอศกรีมเพื่อดับร้อนและรู้สึกสดชื่นขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศร้อนเกือบตลอดทั้งปี รวมถึงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่คลี่คลายลง ทำให้ประชาชนสามารถออกมาใช้ชีวิตประจำวันได้เกือบเป็นปกติเหมือนในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม จากกระแสการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความกังวลในเรื่องของอาหารที่ตนเองรับประทานเข้าไปมากกว่าแต่ก่อน และผู้บริโภคลดการบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ลงซึ่งส่งผลในเชิงลบต่อยอดจำหน่ายไอศกรีมเพราะไอศกรีมมักถูกมองว่าเป็นของหวานที่อุดมไปด้วยน้ำตาล และไขมันซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมที่วางจำหน่ายในประเทศไทยจำแนกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. ไอศกรีมแบบรับประทานทันที (Impulse Ice cream) มีส่วนแบ่งร้อยละ 88.0 ของมูลค่าการตลาด สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่
    1. ไอศกรีมนมแบบรับประทานคนเดียว (Single Portion Dairy Ice Cream) เป็นไอศกรีมที่ทำจากนมและบรรจุในปริมาณเหมาะสำหรับการรับประทาน 1 คนต่อครั้ง ปี 2565 มีมูลค่าตลาด 7,438 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61.1 และมีอัตราเติบโตร้อยละ 5.6 เทียบจากปีก่อน
    2. ไอศกรีมหวานเย็นแบบรับประทานคนเดียว (Single Portion Water Ice Cream) เป็นไอศกรีมที่ไม่มีนมเป็นส่วนประกอบ และบรรจุในปริมาณเหมาะสำหรับการรับประทาน
      1 คนต่อครั้ง ในปี 2565 มีมูลค่าตลาด 3,284 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27.0 และมีอัตราเติบโตร้อยละ 4.4 เทียบจากปีก่อน

2.ไอศกรีมแบบรับประทานที่บ้าน (Take-Home Ice Cream) มีส่วนแบ่งร้อยละ 12.0 ของมูลค่าการตลาด มักนิยมขายในรูปแบบไอศกรีมนมแบบตัก (Bulk Dairy Ice Cream) โดยในปี 2565 มีมูลค่าตลาดประมาณ 1,452 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.0 และมีอัตราเติบโตร้อยละ 4.7

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527