เมษายน 2566
ตลาดผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชของไทย ปี 2566 คาดว่าจะมีมูลค่า 1,560 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 9.7 โดยเพิ่มขึ้นจากกระแสการให้ความสำคัญกับสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และรูปร่างที่ดี รวมทั้งทัศนคติการใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสวัสดิภาพของสัตว์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และองค์ความรู้ด้านวิทยาศาตร์อาหาร ที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติ รูปลักษณ์ เนื้อสัมผัส และกลิ่น ได้ใกล้เคียงกับรสชาติเนื้อจริง สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ในเมนูต่าง ๆ กระตุ้นความสนใจ และความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคเนื้อที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และหันมาบริโภคเนื้อจากพืชมากขึ้น
ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชที่วางจำหน่ายในประเทศไทยจำแนกตามรายชื่อผลิตภัณฑ์ มีจำนวน 83 ผลิตภัณฑ์[1] โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไทยมีจำนวนสินค้าใหม่ออกวางจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในปี 2564 หลังจากช่วงที่มีการระบาดของโรค COVID-19 อย่างรุนแรง โดยในปี 2565 มีสินค้าเนื้อจากพืชออกวางจำหน่าย 44 ผลิตภัณฑ์ เพิ่มเป็น 1 เท่า จากปีก่อน
ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชที่จำหน่ายในไทยส่วนใหญ่จำหน่ายในรูปแบบวัตถุดิบนำไปประกอบอาหาร
โดยรูปแบบที่ได้รับความนิยมในไทย ได้แก่ เนื้อแพ็ตตี้ ไม่ว่าจะเป็น หมูสับ เบอร์เกอร์แพตตี้ (Hamburger Patties) หรือจำหน่ายในรูปแบบหมูกรอบ นักเก็ต เนื้อปลา เป็นต้น
หากพิจารณาส่วนผสม พบว่า ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชส่วนใหญ่มีวัตถุดิบส่วนใหญ่ประกอบด้วยถั่วและพืชต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง เห็ด ข้าวเจ้า ข้าวสาลี รวมถึงสีธรรมชาติจากบีทรูทและทับทิม โดยในการผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช ผู้ผลิตแต่ละรายจะมีการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านอาหารที่หลากหลายมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติและเนื้อสัมผัสใกล้เคียงเนื้อสัตว์มากที่สุด พร้อมทั้งมีโปรตีนเทียบเท่าหรือใกล้เคียงเนื้อสัตว์จริง เช่น[1]
[1] รวบรวมและวิเคราะห์โดย Krungthai COMPASS