กรกฎาคม 2565
ตามที่องค์การอาหารและการเกษตร (FAO) แห่งสหประชาชาติ ระบุว่ามากกว่าหนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมดที่ต้องเสียซึ่งรวมกันได้มากถึง 1.3 พันล้านตัน และมากกว่า 750 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก คิดเป็นร้อยละ 8 การเกิดภาวะโลกร้อนโดยการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ 4.4 พันล้านตันต่อปี นอกจากนี้ พื้นที่เกษตรกรรมของโลก (1.4 พันล้านเฮกตาร์) ถูกใช้เพื่อผลิตอาหารที่สูญเสียหรือสูญเปล่าไป คิดเป็นร้อยละ 28 คิดเป็นหนึ่งในสี่ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) หากมีการหมุนเวียนของอาหารนอกจากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและยังช่วยเรื่องความมั่นคงทางอาหารอีกด้วย การอัพไซเคิลอาหารเป็นวิธีการในการลดขยะอาหาร และเปลี่ยนให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีคุณภาพสูง โดยใช้สารอาหารที่อาจสูญเสียไปในห่วงโซ่อุปทานอาหาร นอกจากนี้ยังหมายถึงการใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของอาหาร ตั้งแต่เปลือกไปจนถึงเมล็ดและใบ โดยพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
ลำดับชั้นการจัดการอาหาร มีดังนี้ (ป้องกัน) การป้องกัน คือ การป้องกันการเกิดขยะอาหารจากห่วงโซ่อาหาร และการเพิ่มคุณประโยชน์สูงสุด เช่น การบริจาคอาหารส่วนใหญ่แก่ผู้ยากไร้ ทั้งนี้ได้ปรับลำดับให้มีการนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycled Food และผลิตเป็นอาหารสัตว์ (ลด) การนำมาผลิตเพื่อใช้ใหม่ คือ การนำขยะอาหารมาผลิตพลังงานเทคโนโลยีหมัก เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ และการนำมาผลิตปุ๋ยเพื่อการเกษตร การกำจัดเพื่อนำพลังงานมาใช้ใหม่ คือ การเผาเพื่อผลิตพลังงาน (ทิ้ง) การกำจัด คือ การเผา การฝังกลบ และทิ้งเพื่อการบำบัดต่อไป
จากรายงานของ Innova Market Insights พบว่า ในปี พ.ศ. 2565 แนวโน้มผู้บริโภคที่ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมและเลือกบริโภคอาหารคำนึงถึง 2 อันดับแรก คือ การลดของเสียและการรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของตลาดที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจรักษ์โลก ผลิตภัณฑ์ผ่านกระบวนการแนวคิด Upcycled (Upgrade+Recycling) กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลกและเป็นเทรนด์ที่มาแรงในสินค้าหลายอุตสาหกรรม แม้แต่ผู้ผลิตอาหารก็ได้นำแนวทาง Upcycled Food มาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าและช่วยลดขยะอาหาร
ประเด็นของ Upcycling และ Recycling มีความคล้ายคลึงกันมาก ความแตกต่างหลัก คือ การ Upcycling เพื่อเพิ่มมูลค่าหรือให้มีคุณภาพ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งหมด ส่วน Recycling เป็นกระบวนการทางเคมีเพื่อขยายวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ให้นำกลับมาใช้ใหม่
download PDF ย้อนกลับ