มิถุนายน 2565
อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เกิดการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและซาอุดิอาระเบีย ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ซาอุดิอาระเบียได้มีการทำยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ประเทศใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2559 หรือ Saudi Vision 2030 ที่มีเนื้อหาสาระครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และวางแผนการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดดให้ข้ามผ่านการเป็นประเทศที่ระบบเศรษฐกิจอาศัยรายได้หลักจากน้ำมันเพียงอย่างเดียว Saudi Vision 2030 เป็นยุทธศาสตร์ที่ดึงความแข็งแกร่งของราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียทั้งด้านศาสนา การลงทุน เพื่อก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และตำแหน่งภูมิรัฐศาสตร์ที่เชื่อม 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา โดยวิสัยทัศน์นี้จะมีรายละเอียดครอบคลุม 3 ประเด็นการพัฒนาหลัก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เปิดเผยข้อมูลในรายงานประจำปี (World Economic Outlook, 2022) คาดว่าเศรษฐกิจซาอุดิอาระเบียจะมีอัตราการเติบโต 7.6% ในปีนี้ นับเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดในกลุ่มเศรษฐกิจโลก ซึ่งรวมถึงเศรษฐกิจประเทศพัฒนา ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนา มีอิทธิพลมาจากภาคน้ำมันคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง การกระตุ้นการส่งออกและกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน อัตราการฉีดวัคซีนที่สูง และการลงทุนที่เร่งตัวขึ้น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการขยายตัวยังคาดว่าได้รับการสนับสนุนจากนโยบายของรัฐบาลที่เอื้ออำนวย ซึ่งรวมถึงวิสัยทัศน์ปี 2030 อย่างไรก็ตาม ต้นทุนอาหารในซาอุดิอาระเบียเดือนมิถุนายน 2565 เพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบปี
download PDF ย้อนกลับ