สวัสดี

สถานการณ์ตลาดการค้าผลไม้สดโลกและไทย

แชร์:
Favorite (38)

เมษายน 2565

STATISCA ประเมินว่าในปี 2565 นี้ มูลค่าตลาดการค้าผลไม้สดทั่วโลกจะมีมูลค่ารวม 614.80 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 20.9 แสนล้านบาท) โดยคาดการณ์ว่าตลาดจะมีอัตราเติบโตปีเฉลี่ยร้อยละ 5.11 ต่อปีในช่วงปี 2565-2570 ผลไม้กลุ่มหลักๆ ได้แก่ กล้วย ผลไม้จำพวกส้ม แอปเปิ้ลและแพร์ แต่หากพิจารณาจากรายงานการค้าระหว่างประเทศ ด้านการส่งออก ปี 2564 ที่ผ่านมามีมูลค่า 7.28 ล้านล้านบาท มีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 11.9 พิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสูงสุดจะเป็นผลไม้จำพวกส้ม มีมูลค่า 843,048 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.6 อันดับ 2 ได้แก่ องุ่น มีสัดส่วนร้อยละ 7.6 และกล้วยมีสัดส่วนร้อยละ 6.4 ผู้ส่งออกผลไม้สดที่สำคัญของโลก 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สเปน และเม็กซิโก ส่วนไทยครองอันดับ 8 ของโลก ด้วยส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.7 แต่เมื่อพิจารณาในฝั่งของตลาดนำเข้า ก็จะพบว่าสหรัฐอเมริกาก็เป็นผู้นำเข้าผลไม้สดอันดับ 1 ของโลกเช่นกัน ปี 2564 มีมูลค่าถึง 821,575 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 11.3 ของการนำเข้าทั่วโลก ผู้นำเข้าผลไม้สดที่สำคัญอีก 4 ลำดับ ได้แก่ เยอรมนี จีน แคนาดา และเนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ สัดส่วนรวมกัน 5 อันดับแรกของโลกมีน้ำหนักถึงร้อยละ 41.7 ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด ถือเป็นตลาดใหญ่ที่มีอิทธิพลสูงต่อการค้าผลไม้สดโลก

การบริโภคผลไม้สดเพิ่มมากขึ้นมีปัจจัยส่งเสริมมาจากการที่ผู้บริโภคในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความใส่ใจดูแลสุขภาพ และทราบถึงคุณประโยชน์ของผลไม้สดมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคอายุน้อย หลังสถานการณ์โควิด-19 ได้หันมาเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและไม่ทำให้เกิดโรคอ้วน  นอกจากนี้ปัจจัยที่สำคัญอีกด้านคือรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นทำให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการโซ่อุปทานตั้งแต่เกษตรกรมาสู่ผู้บริโภค ทำให้สินค้ามาถึงมือผู้บริโภคยังคงมีความสดใหม่ มีคุณภาพดี  ไม่ว่าจะเป็นด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง  เทคโนโลยีการปรับสัดส่วนบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ (Modified Atmosphere Packaging) การเคลือบฟิล์มชนิดรับประทานได้ที่ผิวเพื่อชะลอการสุก อย่างไรก็ตาม ช่องทางจำหน่ายหลักสำหรับสินค้าผลไม้สด ผู้บริโภคก็ยังคงเลือกมาจับจ่ายกันในช่องทางออฟไลน์ ยังมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 80 เพื่อสามารถเห็นสินค้าจริงและเลือกสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเอง 

เบื้องหลังการเติบโตของการค้าผลไม้สดอีกประเด็นที่ไม่ควรมองข้ามคือ ห่วงโซ่คุณค่าอาหารแบบดั้งเดิมกำลังได้รับการพัฒนาเป็นเครือข่ายอุปทานแบบดิจิทัล ที่เปิดใช้งานตลอดเวลา และครบวงจร ซึ่งขับเคลื่อนโดยข้อมูลและการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์  นวัตกรรมเหล่านี้พร้อมใช้เพื่อช่วยให้ห่วงโซ่คุณค่าอาหารสดระบุสาเหตุของความล้มเหลวในอาหารสด และปรับปรุงความสดจากภาคฟาร์มไปยังตะกร้าสินค้าของผู้บริโภค

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527