สวัสดี

ตลาดนมจากพืชในประเทศไทย ปี 2564

แชร์:
Favorite (38)

ธันวาคม 2564

ปี 2564 ตลาดนมจากพืช (Plant-Based Milk) มีมูลค่าประมาณ 23,633.9 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยแยกออกเป็นนมถั่วเหลือง (Soy Milk) 22,275.2 ล้านบาท (94.25%) และนมจากพืชอื่นๆ (Other Plant-Based Milk) เช่น อัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต มะพร้าวข้าว เป็นต้น 1,358.7 ล้านบาท (5.75%) และคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ (ปี 2564 – 2569) และคาดว่าในปี 2565 ตลาดนมจากพืชจะมีมูลค่าตลาดกว่า 24,934.4 ล้านบาท

          การบริโภคผลิตภัณฑ์นมปรับตัวดีขึ้นในปี 2564 จากมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ และมีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จึงทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้นแต่ยังคงต่ำกว่าก่อนเกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาด และผู้บริโภคยังคงระมัดระวังในการออกมาในที่สาธารณะ ในพื้นที่ที่มีคนจำนวนมาก จึงทำให้ยอดจำหน่ายของช่องทางค้าปลีกปรับตัวลงเล็กน้อย และผู้บริโภคหันมาซื้อผ่านช่องทาง E-commerce มากขึ้น ทำให้ยอดจำหน่ายในช่องทางนี้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาด แต่ผู้บริโภคชาวไทยโดยเฉพาะกลุ่มมิลเลนเนียลยังคงหลงใหลใน “ชานมไข่มุก” และการ “ถ่ายภาพเซลฟี่” คู่กับเครื่องดื่มชานมไข่มุก เครื่องดื่มต่างๆ ตามร้านกาแฟ ร้านคาเฟ่ ซึ่งกลายเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อแชร์ประสบการณ์ แชร์เรื่องราวกับเพื่อนๆ ในโลกโซเชียล ผู้ประกอบการจึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตามกระแสชานมไข่มุกที่กำลังเป็นที่นิยมแต่ใช้นมจากพืชแทน อาทิ นมถั่วเหลืองผสมบุกไข่มุก รสบราวน์ชูก้า ตรา โบบาบอย (BobaBoy Brown Sugar Soymilk with konjac boba) จากบริษัท โทฟุซัง จำกัด เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค อีกทั้งยังตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ กลุ่มผู้บริโภควีแกน (Vegan) และกลุ่มผู้บริโภคที่มีอาการ lactose intolerance (ภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสบกพร่อง) ที่ไม่สามารถรับประทานนมที่มาจากสัตว์ได้ จึงต้องหาผลิตภัณฑ์อื่นมาทดแทน ทำให้ตลาดนมจากพืชซึ่งเป็นสินค้าทดแทนเติบโตมากขึ้น นมจากพืชที่ได้รับความนิยม ได้แก่ นมถั่วเหลือง นมอัลมอนต์ นมข้าวโอ๊ต นมข้าว หรือแม้แต่นมจากเมล็ดกัญชง (hemp) เป็นต้น

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527