สวัสดี

Upcycle Food อาหารรักษ์โลก

แชร์:
Favorite (38)

สิงหาคม 2564

FAO ประเมินว่าในทุกปีจะมีอาหารอย่างน้อย 1.3 พันล้านตัน หรือประมาณ 30% ของอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมดทั่วโลกสูญเสียไปโดยไม่ได้บริโภค กลายเป็นขยะอาหาร ขยะอาหารเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหาร เมื่ออาหารเน่าเปื่อย มันจะปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซที่อันตรายกว่า CO2 ถึง 20 เท่า และ เศษอาหารมีส่วนต่อการผลิตก๊าซเรือนกระจก 70 พันล้านตัน หรือ 8% ของการปล่อยโดยมนุษย์ทั่วโลกต่อปี จึงสมเหตุสมผลที่เราจะช่วยกันป้องกันไม่ให้อาหารที่ดีเน่าเสียไปโดยไม่ได้บริโภค แนวทางแก้ไขที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถลดปัญหาเศษอาหารเหลือทิ้งในระยะต่างๆ ของห่วงโซ่อุปทานอาหารได้ คือ การอัพไซเคิล (Upcycle)

ตามรายงานดัชนีขยะอาหารของ UN Environment Programme (UNEP) ปี 2564 พบว่า ประมาณ 17% ของการผลิตอาหารทั่วโลกอาจสูญเปล่า  โดยขยะอาหาร 61% มาจากครัวเรือน 26% มาจากธุรกิจบริการอาหาร และอีก 13% มาจากร้านค้าปลีก  ประมาณการว่าการสูญเสียอาหารและขยะอาหารมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ 936 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี โดยรวมแล้วการเกิดขยะอาหารในระบบอาหารสร้าง
ความเสียหายให้กับสังคม 12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกิดต้นทุนด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

 

ซึ่งมากกว่ามูลค่าตลาดของระบบอาหารถึง 20% ขณะที่ทั่วโลกยังมีประชากรอีกถึง 690 ล้านคนที่ยังหิวโหย การลดความสูญเสียอาหาร (food loss) และลดขยะอาหาร (food waste) จะส่งผลดีต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม  เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติจึงตั้งเป้าที่จะลดขยะอาหารลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527