สวัสดี

เครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ในประเทศไทย

แชร์:
Favorite (38)

เมษายน 2564

บทนำ ตลาดเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ ปี 2563 ที่ผ่านมามีมูลค่า 267,613 ล้านบาท หดตัวจากปีก่อนหน้าร้อยละ 7.4 เป็นผลจากการระบาดของ COVID 19 ทำให้เกิดมาตรการ Lock down ช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน ทั่วประเทศเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ต่อเนื่องด้วยมาตรการห้ามออกนอกบ้านช่วงเวลา 22.00-04.00 น. จนถึงเดือนมิถุนายน ส่งผลให้ร้านอาหารต้องงดให้บริการในช่วงเวลาดังกล่าว และแม้ว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 มาตรการต่างๆ จะถูกยกเลิกไป แต่ยังคงให้ความสำคัญกับ Social distancing เพื่อป้องกันการติดต่อของ COVID-19 ทำให้ผู้คนยังคงมีความระมัดระวังในการดำเนินชีวิต ขณะที่ธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร ตลอดจนสถานบันเทิงต่างๆ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ การปิดประเทศห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่บั่นทอนตลาดเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ ในประเทศตลอดปี 2563

ตลาดเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ ในส่วนธุรกิจบริการอาหาร (Foodservice) หรือ On trade หดตัวถึงร้อยละ 21.7 จากการที่ผู้คนใช้เวลานอกบ้านน้อยลง ทำให้โอกาสในการซื้อเครื่องดื่มลดลงตามไปด้วย แต่เมื่อต้องอยู่บ้านมากขึ้นจึงมีการซื้อเครื่องดื่มเพื่อบริโภคในบ้านมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ ในส่วนค้าปลีก (Retail) หดตัวเพียงร้อยละ 0.7 เท่านั้น และหากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่าหดตัวเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้น น้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำหวานเข้มข้น ที่ยังคงขยายตัว โดยน้ำหวานเข้มข้นเติบโตถึงร้อยละ 8.9 เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำมาผสมน้ำหรือโซดาเพื่อเป็นเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่นเป็นอย่างดี อีกทั้งมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ชนิดอื่นๆ

หากพิจารณาภาพรวมตลาดเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ตลาดเติบโตเฉลี่ยเพียงร้อยละ 1.5 ต่อปีเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงภาวะอิ่มตัวของตลาดเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์  โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์หลัก เช่น น้ำอัดลม น้ำดื่มบรรจุขวด และเครื่องดื่มชูกำลัง (ส่วนแบ่งตลาดของ 3 ผลิตภัณฑ์คิดเป็นร้อยละ 72.4) นับเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการในธุรกิจเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ที่ต้องเผชิญ จำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องสร้างโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นให้ตลาดเติบโต ดังเช่น Vitamin water ที่กำลังเติบโตได้ดีในปีที่ผ่านมา

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527