ธันวาคม 2562
แม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชผลทางการเกษตร และชาวไทยส่วนใหญ่นิยมรับประทานผักผลไม้สดมากกว่าสินค้าแปรรูปก็ตาม แต่จากสภาพสังคมเมืองในปัจจุบัน ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนไทยยุ่งวุ่นวายและเร่งรีบมากขึ้น ประกอบกับปริมาณผลผลิตในแต่ละฤดูกาลไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้แปรรูปจึงเป็นสินค้าทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการรับประทานผักและผลไม้ซึ่งอยู่นอกฤดูกาล ขณะเดียวกันบรรดาธุรกิจร้านอาหารและผู้บริโภคชาวไทยที่ไม่มีเวลามากนักในการจัดเตรียมส่วนประกอบอาหารเองทั้งหมด ต่างก็มีความต้องการสินค้าผักและผลไม้แปรรูปที่สามารถช่วยประหยัดเวลาในการประกอบอาหาร
ในปี 2561 ตลาดผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้แปรรูปในประเทศไทยมีมูลค่า 2,153.3 ล้านบาท หรือมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย ร้อยละ 3.2 ต่อปี ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2557-2561) ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากความต้องการบริโภคของภาคธุรกิจบริการอาหารเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ ผับบาร์ หรือร้านอาหารริมทาง โดยเฉพาะผลไม้แปรรูปแช่แข็ง ผักและมันฝรั่งแปรรูปแช่แข็ง ซึ่งนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูอาหาร ทั้งเมนูเครื่องดื่มน้ำปั่น ขนมหวาน อาหารจานหลัก และอาหารรับประทานเล่น โดยในส่วนของร้านอาหารระดับบน (Upscale restaurants) จะมีความต้องการสินค้าคุณภาพสูงมากขึ้น เช่น กีวี อะโวคาโด
อะไซอิเบอร์รี่ (acai berry) เสาวรส เป็นต้น
download PDF ย้อนกลับ