สวัสดี

ตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดในประเทศไทย

แชร์:
Favorite (38)

กรกฎาคม 2561

ในปี 2560 ที่ผ่านมาตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดในประเทศไทยมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 52,000 ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 จากปีก่อนหน้า ปัจจัยที่ทำให้มูลค่าตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมาจากการที่กลุ่มคนรักสุขภาพเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ โดยได้รับอิทธิพลมาจากสื่อออนไลน์ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ จึงทำให้ผู้บริโภคได้รับความรู้ในเรื่องของสารอาหารและโทษที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ส่งผลให้ผู้บริโภคใส่ใจในการเลือกเครื่องดื่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อตลาดน้ำดื่มรรจุขวดเพราะมองว่าเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ เพราะไม่มีการใส่น้ำตาลหรือสารปรุงแต่งเข้าไปเพิ่มเหมือนอย่าง น้ำอัดลม หรือ ชาพร้อมดื่ม ซึ่งมองว่าเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

นอกจากนี้ จาก พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตฉบับใหม่ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2560 ให้มีการปรับขึ้นภาษีน้ำตาล ทำให้ตลาดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลจำเป็นต้องปรับราคาขึ้น ผู้บริโภคจึงหันมาบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดแทนมากขึ้น นอกจากนี้ แม้ว่าน้ำประปาในประเทศไทยจะสามารถดื่มได้ ผู้บริโภคจำนวนมากยังคงเลือกที่จะดื่มน้ำจากน้ำดื่มบรรจุขวดมากกว่า เพราะรู้สึกว่าสะอาดและปลอดภัยกว่า ดังนั้นจึงเป็นผลในเชิงบวกต่อตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดเช่นกัน 

ผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวดสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1. น้ำดื่มบรรจุขวดทั่วไป (Still Bottled Water)

มีมูลค่าอยู่ที่ 40,700 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 78.3

2. น้ำโซดาบรรจุขวด (Carbonated Bottled Water)

มีมูลค่าอยู่ที่ 8,600 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 16.5

3. น้ำดื่มฟังก์ชันบรรจุขวด (Functional Bottled Water)

มีมูลค่าอยู่ที่ 2,700 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.2

กลุ่มน้ำดื่มบรรจุขวดทั่วไปมีการเติบโตสูงที่สุดในกลุ่ม เพราะผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับสินค้าเป็นอย่างดี ประกอบกับราคาที่ไม่แพง อีกทั้งการใช้บริโภคแทนน้ำประปา จึงทำให้มีการเติบโตของกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกัน กลุ่มน้ำดื่มฟังก์ชันมีการหดตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภคจำนวนมากมองว่าไม่เห็นประโยชน์ของน้ำดื่มฟังก์ชันมากนัก และคิดว่าสามารถหาเครื่องดื่มอื่นที่มีราคาถูกกว่าและได้ประโยชน์ในเรื่องของสุขภาพมากกว่าแทนได้ ประกอบกับการที่น้ำดื่มฟังก์ชันราคาที่สูงกว่าน้ำดื่มบรรจุขวดทั่วไป ปัจจัยเชิงเหล่านี้ผลให้มีผู้ประกอบการในตลาดน้ำดื่มฟังก์ชันมีแนวโน้มลดลง

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527