มิถุนายน 2561
นอกจากสหรัฐอเมริกาจะเป็นตลาดหลักของสินค้าอาหารไทยแล้ว กระแสรักสุขภาพและความต้องการใช้ชีวิตและการเป็นอยู่ที่ดี (Health and Wellness)
ยังทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นตลาดอาหารเพื่อสุขภาพขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ผู้บริโภคชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยมีกำลังซื้อสูงกว่า และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพมากกว่าผู้บริโภคในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ ประกอบกับรูปแบบการใช้ชีวิตของชาวอเมริกันที่เร่งรีบและการขยายตัวของสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความต้องการบริโภคอาหารที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและร่างกายของพวกเขามากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะขยายโอกาสทางการค้าและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพของไทยไปสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา
สถานการณ์ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพสหรัฐอเมริกา
ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพในสหรัฐอเมริกามีทิศทางการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560 พบว่า มีมูลค่าการจำหน่ายภายในประเทศรวม 168,476.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.6 ต่อปี ตลอดช่วงที่วิเคราะห์ (ปี 2556-2560) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากชาวอเมริกันให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น ส่งผลให้สินค้าอาหารประเภทปลอดสารเคมี หรืออาหารออร์แกนิก และสินค้าอาหาร
ประเภท Free From ที่มีการสกัดสารก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น กลูเตน เป็นที่ต้องการอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา จะเ ห็ น ไ ด้ จ า ก อั ต ร า ก า ร ข ย า ย ตั ว เ ฉ ลี่ ย ข อ ง สิ น ค้ า อ า ห า ร เ พื่ อ สุ ข ภ า พ ทั้ ง ส อ ง ป ร ะ เ ภ ท ที่ สู ง ถึ งร้อยละ 7.7 และ 6.4 ต่อปี ตลอดช่วงที่วิเคราะห์ ตามลำดับ ในทางตรงกันข้าม ชาวอเมริกันจำนวนมากกลับให้ความสนใจน้อยลงกับสินค้าอาหารประเภท Better for You ที่มีการลดปริมาณสารที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย เช่น น้ำตาล คาเฟอีน ส่งผลให้มีอัตราการหดตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.8 ต่อปี ตลอดช่วงที่วิเคราะห์ (รูปที่ 1) เนื่องจากพวกเขาไม่ต้องการรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลเทียม (Artificial sweetener) เพื่อเติมแต่งรสหวานแทนน้ำตาลทราย ซึ่งพวกเขามีความเข้าใจว่าการบริโภคน้ำตาลเทียมเป็นประจำหรือในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย