พฤษภาคม 2560
ปลายปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา สำนักข่าว CNN จัดให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารริมทาง หรือ สตรีทฟู้ดดีที่สุดอันดับ 23 ของโลก เนื่องจากอาหารรสชาติอร่อย มีความหลากหลายและมีชื่อเสียงโด่งดัง นักท่องเที่ยวสามารถเสาะหาอาหารได้ทุกพื้นที่ตลอดเวลา ด้วยราคาที่ย่อมเยา
ปลายปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา สำนักข่าว CNN จัดให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารริมทาง หรือ สตรีทฟู้ดดีที่สุดอันดับ 23 ของโลก เนื่องจากอาหารรสชาติอร่อย มีความหลากหลายและมีชื่อเสียงโด่งดัง นักท่องเที่ยวสามารถเสาะหาอาหารได้ทุกพื้นที่ตลอดเวลา ด้วยราคาที่ย่อมเยา โดยเยาวราชหรือไชน่าทาวน์เมืองไทยถูกยกให้เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ดีที่สุดของอาหารริมทาง ประกอบกับรัฐบาลให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว จึงมีนโยบายที่จะใช้อาหารริมทาง เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวด้วยการยกระดับมาตรฐานความสะอาดและความปลอดภัย ควบคู่กับการจัดระเบียบพื้นที่ค้าขายบนทางเท้าให้มีความเหมาะสม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและเป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อ การท่องเที่ยวไทย
ในการนี้กรุงเทพมหานครร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้ถนนเยาวราช และถนนข้าวสาร เป็นถนนนำร่องอาหารริมทางยุคใหม่ โดยการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานความสะอาดและความปลอดภัย พร้อมจัดลงทะเบียนผู้ขายและพนักงานเสิร์ฟภายในร้านที่ต้องผ่านการตรวจคัดกรองตรวจโรคก่อน รวมถึงอบรมเกี่ยวกับสุขอนามัยในการประกอบอาหาร พร้อมทั้งต้องมีการจัดการพื้นที่ล้างจานและจัดการกากอาหารให้ได้มาตรฐาน ควบคู่กับการจัดสรรพื้นที่ขายไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้ทางเท้า จากปัจจัยต่างๆ ข้างต้นต่างสนับสนุนให้อาหารริมทางเติบโต อย่างยั่งยืน
_______________________________________________________________________________________________________
1 อาหารริมทาง (Street Food) หมายถึง อาหารพร้อมรับประทาน หรือเครื่องดื่มที่จำหน่ายกันริมถนนหรือที่สาธารณะ มีทั้งที่เป็น ซุ้มขายอาหาร รถเข็นอาหาร หรือรถบรรทุกอาหาร ทั้งนี้ส่วนใหญ่ราคาอาหารมักจะต่ำกว่าอาหารในภัตตาคาร และเป็นอาหารที่ คนในท้องถิ่นนิยมรับประทาน ทำให้อาหารริมทางสะท้อนถึงวัฒนธรรมการกินในแหล่งนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเองก็จำเป็นต้องปรับตัวตามกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นโดยเฉพาะด้านสุขอนามัย และความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพและให้ความสำคัญต่อกระบวนการปรุงอาหารและความสดใหม่ของวัตถุดิบมากขึ้นด้วย
หากพูดถึงอาหาริมทางหรือสตรีทฟู้ดในเมืองไทยนั้น ไม่ได้มีเฉพาะในเขตกรุงเทพฯเท่านั้น แต่กระจายอยู่ ทุกแหล่งชุมชนทั่วประเทศ โดยปี พ.ศ. 2559 ประเมินว่ามีร้านอาหารริมทางประมาณ 103,000 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 69 ของร้านอาหารทั้งหมด สาเหตุที่ร้านอาหารริมทางมีจำนวนมากเช่นนี้ เนื่องจากต้นทุนต่ำ มีเพียงรถเข็นและอุปกรณ์ทำอาหารเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้นก็สามารถเปิดร้านได้ อีกทั้งยังไม่ต้องเสียค่าเช่า (หรืออาจเสียในอัตราไม่สูง) ผู้ประกอบการสามารถเข้า-ออกจากธุรกิจได้โดยง่าย ทั้งนี้ ร้านอาหารที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันจำนวนไม่น้อยที่เริ่มจากร้านอาหารริมทาง เมื่อมีลูกค้าจำนวนมากจึงเริ่มขยับขยายไปสู่ร้านอาหารแบบถาวร
download PDF ย้อนกลับ