สวัสดี

ตลาดวิตามินและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในญี่ปุ่น

แชร์:
Favorite (38)

มีนาคม 2560

ชาวญี่ปุ่นจัดเป็นชนชาติที่มีอายุยืนยาวที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากชนชาติโมนาโคและสิงคโปร์ โดยชาวญี่ปุ่นมีอายุเฉลี่ยที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่ (life expectancy) 85 ปี ซึ่งผู้หญิงจะมีอายุยืนกว่าอยู่ที่ 88.5 ปี ส่วนผู้ชายมีอายุเฉลี่ย 81.7 ปี (ที่มา: Central Intelligence Agency. 2016.) ทั้งนี้ หลายฝ่ายต่างเชื่อว่าปัจจัยที่มีส่วนช่วยให้พวกเขาสามารถมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาวนั้นเกิดจากวิถีการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ส่งผลให้สินค้าประเภทวิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นที่นิยมอย่างมากในตลาดญี่ปุ่น ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ (65 ปี ขึ้นไป) ซึ่งมีมากถึงร้อยละ 27.3 ของจำนวนประชากรชาวญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ยังรวมถึงกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวและวัยทำงานที่ไม่ค่อยมีเวลามากนักที่จะออกกำลังกายและจัดหาอาหารเพื่อสุขภาพของพวกเขา

การจัดประเภทสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพกลุ่มวิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในญี่ปุ่น
วิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายในญี่ปุ่น จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดคำจำกัดความของสินค้าเหล่านี้ แต่เป็นที่เข้าใจตรงกันว่าหมายถึงอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพหรือเพื่อบำรุงสร้างเสริมสุขภาพ โดยวิตามินและแร่ธาตุ (vitamins & minerals) จะอยู่ในกลุ่มสินค้า Food with Nutrient Function Claims (FNFC) ซึ่ง CAA (Consumer Affairs Agency) กำหนดให้สินค้ากลุ่มนี้ต้องมีส่วนผสมตามจำนวนและชนิดของวิตามินและแร่ธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กำหนด  โดยสินค้ากลุ่มนี้จะสามารถระบุสรรพคุณ หรือประโยชน์ของอาหารบนฉลากได้   ส่วนผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (dietary supplements) จะอยู่ในกลุ่มสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพทั่วไป (So-called Health Foods) แต่จะไม่สามารถระบุสรรพคุณ หรือประโยชน์ของอาหารบนฉลากได้ (รูปที่ 1)   นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังมีกลุ่มสินค้าอีกประเภทที่อยู่ในข่ายของสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพเช่นกัน เรียกว่า Food for special dietary uses (FOSDU) เป็นสินค้าอาหารที่มีผลในการช่วยป้องกันหรือรักษาโรค หรือมีประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งต่อสุขภาพ ประกอบด้วย อาหารทางการแพทย์ อาหารสำหรับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร อาหารทารก อาหารผู้สูงอายุ และ Food for specific health uses (FOSHU หรือ TOKUHO ในภาษาญี่ปุ่น) โดยสินค้ากลุ่มนี้สามารถแสดงหรืออ้างหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับหน้าที่และประโยชน์ของอาหาร ซึ่งจะใช้เพื่อการบริโภคเฉพาะทางได้ โดยจะต้องยื่นขอและผ่านการอนุญาตจาก CAA ซึ่งมีขั้นตอนการพิจารณาที่เข้มงวด รวมทั้งเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527