มิถุนายน 2558
ภาพรวมตลาดขนมหวานโลก ขนมหวานเป็นหนึ่งในกลุ่มอาหารในภาชนะบรรจุที่มีแนวโน้มเติบโตดี ในปี 2557 ที่ผ่านมามูลค่าตลาดโลกวัดผ่านการจำหน่ายที่ร้านค้าปลีกสูงถึง 488 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นอันดับที่ 5 ของยอดขายอาหารในภาชนะบรรจุ ขนมหวานถือเป็นสินค้ากลุ่มที่มีกำไรค่อนข้างสูง เป็นที่สนใจของบริษัทผู้ผลิตอาหารที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดต่อเนื่อง
ภาพรวมตลาดขนมหวานโลก
ขนมหวานเป็นหนึ่งในกลุ่มอาหารในภาชนะบรรจุที่มีแนวโน้มเติบโตดี ในปี 2557 ที่ผ่านมามูลค่าตลาดโลกวัดผ่านการจำหน่ายที่ร้านค้าปลีกสูงถึง 488 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นอันดับที่ 5 ของยอดขายอาหารในภาชนะบรรจุ ขนมหวานถือเป็นสินค้ากลุ่มที่มีกำไรค่อนข้างสูง เป็นที่สนใจของบริษัทผู้ผลิตอาหารที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดต่อเนื่องจากรายงานการสำรวจข้อมูลของ Euromonitor International พบว่าประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีการบริโภคสแน็คมีความถี่มากที่สุดในโลก มากกว่า 7 ครั้งต่อสัปดาห์ ขณะที่ประเทศญี่ปุ่น มีการบริโภคด้วยความถี่น้อยที่สุดคือ น้อยกว่า 2ครั้งต่อสัปดาห์
การบริโภคแน็คนั้นมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันได้กลายมาเป็นการบริโภคทดแทนมื้ออาหาร ผู้ผลิตให้ความสำคัญในการเพิ่มคุณค่าของสารอาหารและโภชนาการเข้าไปในผลิตภัณฑ์ของตน เช่น ไฟเบอร์ หรือธัญพืชนานาชนิด ซึ่งทำให้ตลาดมีโอกาสขยายตัวเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนขนมปังได้ในอนาคตขนมหวานมีสัดส่วนยอดขายประมาณร้อยละ 21 ของมูลค่าการค้าอาหารในภาชนะบรรจุ โดยกลุ่มที่มียอดขายมากที่สุด ได้แก่ ขนมหวานจากน้ำตาล(sugar confectioneries) มีสัดส่วนถึงร้อยละ 41 ของยอดขาย
ขนมหวานทั้งหมดในปี 2557 ซึ่งมีตลาดใหญ่ที่มีการบริโภคมาก ได้แก่ เอเชียแปซิฟิก และละตินอเมริกา โดยผู้บริโภคจะรับเลือกสินค้าที่มีราคาไม่แพงเกินไปและกินตามความพอใจ ส่วนสินค้าอีก 4 กลุ่มในขนมหวาน ได้แก่เค้ก ไอศกรีม พาสทรี และบิสกิตหวาน มีมูลค่าตลาดใกล้เคียงกัน แต่ผลิตภัณฑ์กลุ่มบิสกิตหวานมีแนวโน้มเติบโตสูงกว่า จากกราฟแท่งจะแสดงมูลค่าตลาดโลกเฉลี่ยในช่วงปี 2552-2557 และอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีในช่วงเวลาดังกล่าวของสินค้าทั้ง 5 กลุ่ม
ผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคจำนวน 4,436 คน จาก 15 ประเทศในทุกภูมิภาค เมื่อปี 2555 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะตกต่ำ โดยบริษัท Euromonitor International ในประเด็นเกี่ยวกับความถี่ในการซื้อขนมขบเคี้ยวเมื่ออยู่นอกบ้าน พบข้อมูลที่น่าสนใจ นอกจากอินโดนีเซียที่มีวัฒนธรรมชอบรับประทานขนมขบเคี้ยวมากที่สุดแล้ว ประเทศที่มีความถี่ในการรับประทานขนมขบเคี้ยวมากรองลงมาคืออินเดีย ตุรกี โคลัมเบีย จีน และรัสเซีย ส่วนประเทศที่ผู้บริโภคไม่ค่อยนิยมรับประทานขนมขบเคี้ยวมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น รองลงมาได้แก่ สเปน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร จะเห็นได้ว่าแม้ในปีที่เศรษฐกิจโลกค่อนข้างชะลอตัวในหลายประเทศผู้บริโภคก็ยังไม่สามารถตัดใจจากการบริโภคขนมขบเคี้ยวได้
ทั้งนี้ เหตุผลที่ผู้บริโภคเลือกรับประทานขนมหวานมี 3 ปัจจัยผลักดัน คือ รูปแบบการดำเนินชีวิต (lifestyle) คุณค่าทางโภชนาการ และ ทำตามความพอใจของตนเอง ซึ่งจากทั้ง 3 ปัจจัยผลักดันนี้ เป็นโจทย์ให้ผู้ผลิตต้องนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน
ความถี่ในการบริโภคขนมขบเคี้ยวเมื่ออยู่นอกบ้าน
download PDF ย้อนกลับ