สวัสดี

10 ส่วนผสมยอดนิยมในอาหารพร้อมรับประทาน

แชร์:
Favorite (38)

กรกฎาคม 2558

จากการรวบรวมของ Innova Market Insights และ The World of Food Ingredients ที่ติดตามการออกวางจำหน่ายสินค้าอาหารจากทั่วโลก และเป็นผู้ผลิตสื่อความรู้ด้านเทคโนโลยีและส่วนผสมอาหาร พบว่าส่วนผสมที่กำลังมาแรงที่นิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานที่ออกวางจำหน่ายในช่วงปี 2558 นี้ มีทิศทาง 10 กลุ่ม ที่เป็นเทรนด์ในปีนี้

จากการรวบรวมของ Innova Market Insights และ The World of Food Ingredients ที่ติดตามการออกวางจ าหน่ายสินค้าอาหารจากทั่วโลก และเป็นผู้ผลิตสื่อความรู้ด้านเทคโนโลยีและส่วนผสมอาหาร พบว่าส่วนผสมที่ก าลังมาแรงที่นิยมนeมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานที่ออกวางจำหน่ายในช่วงปี 2558 นี้ มีทิศทาง 10 กลุ่ม ที่เป็นเทรนด์ในปีนี้ ดังนี้

 

เทรนด์ที่ 1 - Slow Cooked Meat ผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้เวลาปรุงอย่างช้าๆ เพื่อให้รสชาติซึมผ่านเข้าเนื้อ ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ของ Marks and Spencer แบรนด์ Gastropub ออกสินค้าใหม่แบบปรุงสุกช้าๆ

 

 

 

 

เทรนด์ที่ 2 - ถั่วเลนทิล ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นถั่วที่มีโปรตีนสูงมาก มีทั้งผลิตภัณฑ์แบบจานหลักและเมนูรับประทานร่วมกับจานหลัก หรือซุป

เทรนด์ที่ 3 - โยเกิร์ต ที่ไม่ใช่แค่เพียงอาหารรับประทานเล่นแต่นำไปใช้กับสลัดและพิซซ่าแทนเดรสซิ่ง หรือใช้เป็นซอส ในอาหารเชื้อชาติ ใช้ทาแซนวิช เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองการบริโภคที่กว้างมากขึ้น เพื่อเจาะลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ

เทรนด์ที่ 4 - ควินัว(Quinoa) เป็นธัญพืชโบราณที่เข้ามาแทนที่ซูเปอร์ธัญพืชตัวเดิม และเป็นที่นิยมอย่างสูงในตลาด ทดแทน Couscous ได้อย่างดี โดยมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ออกมาหลากหลายทั้งในลักษณะเป็นอาหารรับประทานเล่น จานข้างเคียงเป็นเมนูสุขภาพที่ตอบโจทย์คนรักสุขภาพได้อย่างดี

Chenopodium quinoa เป็นพืชในวงศ์ Chenopodiaceae ควินัว เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว โคนต้นกลม ส่วนที่แตกใบต้นจะเป็นเหลี่ยม ต้นแก่เป็นสีเหลืองอ่อนหรือแดง ต้นอ่อนมีได้หลายสีสีแดงของพืชชนิดนี้เกิดจากเบตาไซยานิน ต้นอายุน้อยใบสีเขียวมีขนละเอียด เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แดง หรือม่วง ผลมีหลายสี เมล็ดสีขาว น้ าตาล หรือด า พืชชนิดนี้เป็นพืชที่ปลูกในเทือกเขาแอนดีส เป็นอาหารหลักสำหรับผู้คนมาเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว ชนเผ่าอินคาถือว่าเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์และบูชาเมล็ดของมัน ต่อมากระจายไปทั่วอเมริกาใต้จากนั้นจึงแพร่กระจายไปยังประเทศอื่นๆ เมล็ดน าไปคั่วแล้วบดละเอียดท าเป็นแป้ง น าไปต้มใส่ในซุปหรือท าพาสตา เมล็ดรสชาติมัน แต่อบแล้วไม่ขยายตัว น าไปทดแทนแป้งสาลีในการทำขนมปังได้บางส่วน ใบและลำต้นรับประทานเป็นผักได้ทั้งสดหรือนำไปต้ม หรือใช้เป็นอาหารสัตว์ เมล็ดคีนัวให้โปรตีนโดยเฉลี่ย 16% ของน้ าหนัก มีแป้ง 60% เม็ดแป้งขนาดเล็กมาก โดยเป็นอะมิโลส 20% และเปลี่ยนรูปเป็นวุ้นเหนียวที่ 55 องศาเซลเซียส เปลือกหุ้มเมล็ดมีสารซาโปนินที่เป็นพิษ กำจัดออกโดยการล้าง กวน และขัดถูอย่างรุนแรง

เทรนด์ที่ 5 – Pulled Pork หมูฉีกฝอย เป็นเนื้อหมูที่ใช้เวลานานในการต้มจนสุกด้วยไฟอ่อนๆ จนเปื่อยนุ่มแล้วน ามาฉีกเป็นเส้นๆ 

เทรนด์ที่ 6 – สารพัดถั่ว(bean) เราจะพบเห็นสารพัดถั่วรวมอยู่ในเมนูเดียวกันที่ออกวางจำหน่ายในช่วงนี้ ทั้งถั่วแดง ถั่วด า ถั่วปินโต ถั่วลูกไก่ ถั่วลิมา เป็นต้น

เทรนด์ที่ 7 – รมควัน นำส่วนผสมต่างๆมารมควัน เพื่อสร้างรสชาติใหม่ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เช่น เบคอน ปาปริกา พริกไทย ไส้กรอก

เทรนด์ที่ 8 – พืชตระกูลนัต(nuts) อย่างอัลมอนด์ พิสตาชิโอ นำมาบด และใช้เพื่อให้เนื้อสัมผัสที่กรุบกรอบในหลายผลิตภัณฑ์เช่น ซุป สลัด แซนวิช

เทรนด์ที่ 9 – ปราศจากกลูเตนผู้ผลิตให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากกลูเตนมากขึ้น พบเห็นได้ในผลิตภัณฑ์หลายชนิดโดยจะนำเสนอจุดเด่นด้านรสชาติอร่อยด้วย

เทรนด์ที่ 10 – มะพร้าว เป็นส่วนผสมที่ให้ความรู้สึกแบบทรอปิคอล โดยมีแหล่งผลิตส่วนใหญ่มาจากประเทศไทย ถูกนำมาใช้ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารเชื้อชาติ(ethnic food) อาหารที่ให้ความรู้สึกแปลกใหม่กับผู้บริโภค

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527