สวัสดี

อุตสาหกรรมไก่เนื้อในอินโดนีเซีย

แชร์:
Favorite (38)

ตุลาคม 2558

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือประมาณ 255 ล้านคน เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มจำนวนของชนชั้นกลางเป็นสามเท่าตัวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาหรือประมาณ 150 ล้านคน และคนกลุ่มนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มความต้องการในการบริโภคสัตว์ปีกอีกด้วย เพราะเป็นกลุ่มใหญ่และมีกำลังซื้อมากขึ้นกว่าแต่ก่อน คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้ความต้องการบริโภคสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในอีก 5 ปีข้างหน้า

ภาพรวมตลาดปัจจุบัน

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือประมาณ 255 ล้านคน เป็น ประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มจำนวนของชนชั้นกลางเป็น สามเท่าตัวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาหรือประมาณ 150 ล้านคน และคนกลุ่มนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มความต้องการ ในการบริโภคสัตว์ปีกอีกด้วย เพราะเป็นกลุ่มใหญ่และมีกำลังซื้อมากขึ้นกว่าแต่ก่อน คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้ความต้องการบริโภคสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในอีก 5 ปีข้างหน้า  

จากการที่อินโดนีเซียเป็นสังคมของชาวมุสลิมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประชาการส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80-85 นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นจึงไม่บริโภคเนื้อหมู ประกอบกับคนส่วนใหญ่ในประเทศมีรายได้ค่อนข้างน้อยจึง เลือกที่จะรับประทานสัตว์ปีก เช่น เนื้อไก่ เพราะเป็นแหล่งโปรตีนที่มีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์ประเภท อื่นๆ เช่น เนื้อวัว

ดังจะเห็นได้จากตลาดอาหารสัตว์ปีกแปรรูปแช่แข็งในอินโดนีเซียครองอับดับที่ 1 ของมูลค่าการขายปลีก ในกลุ่มอาหารแปรรูปแช่แข็งของอินโดนีเซียในปี 2557  และยังมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจากการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ โดยเฉพาะไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญในการจำหน่ายอาหารแช่แข็ง นอกจากนี้ความนิยมในการรับประทานนักเก็ตไก่ที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กับกำลังซื้อของผู้บริโภคในกลุ่มคนชนชั้นกลางที่มีเพิ่มขึ้นด้วย  จากกราฟที่1 แสดงมูลค่าอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในอินโดนีเซียที่เติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปีทั้งในอุตสาหกรรมไก่เนื้อและไก่ไข่

กราฟที่ 1  แสดงการเติบโตของตลาดอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในอินโดนีเซียระหว่างปี 2554 2 558 

ตลอดช่วงต้นปี 2558 อินโดนีเซียเผชิญกับสถานการณ์ที่สินค้ามีมากเกินความต้องการในตลาด ทำให้ราคาสินค้าสัตว์ปีกในอินโดนีเซียปรับตัวลดลง  จึงเป็นความยากลำบากของผู้ผลิตในการทำกำไร นอกจากราคาขายที่ปรับลดลงแล้ว  ต้นทุนการผลิตยังปรับสูงขึ้นด้วย ทำให้อุตสาหกรรมสัตว์ปีกในปี 2558 มีกำไรลดลงตลอดไตรมาส ที่ 1 และ 2 ที่ผ่านมา  บริษัทผู้ผลิตหลายแห่งจึงพยายามที่จะตัดราคากันเพื่อต้องการแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด ส่งผลให้เกิดความกดดันทางด้านต้นทุนการผลิต  ซึ่งจะเห็นได้จากผู้นำตลาดในกลุ่มนี้ได้กำไรลดลงจาก การขายสินค้า นอกจากนี้อุตสาหกรรมสัตว์ปีกยังต้องเผชิญกับความกดดันด้านราคาอาหารสัตว์จากการที่รัฐบาล ลดปริมาณการนำเข้าข้าวโพด  เนื่องจากข้าวโพดเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารสำหรับสัตวปีกซึ่งส่วนใหญ่ นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา  การลดปริมาณการนำเข้าข้าวโพดจึงส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมนี้ อย่างไร ก็ตาม  คาดการณ์ว่าความต้องการบริโภคสัตว์ปีกของอินโดนีเซียจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 เนื่องจากภาวะ เงินเฟ้อที่ปรับลดลง และเป็นช่วงหลังถือศีลอดจากเดือนรอมฎอน  

กราฟที่ 2 แสดงราคาเนื้อไก่ขายปลีกในอนิโดนีเซีย ระหว่างปี 2554-2558 

สถานการณ์การผลิต 

การเลี้ยงสัตว์ปีกในอินโดนีเซียเป็นอุตสหกรรมที่รวมฟาร์มทุกขนาดที่ดำเนินการภายใต้ทั้งระบบการจัดการแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่  การเพาะพันธุ์สัตว์และการผลิตอาหารสัตว์ในอินโดนีเซียดำเนินการโดยบริษัท ขนาดใหญ่แบบบูรณาการ ซึ่งประกอบไปด้วย การผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ ฟาร์มสัตว์ปีก และโรงฆ่า และชำแหละไก่  โรงงานแปรรูป จึงเหลือช่องว่างเพียงเล็กน้อยไว้สำหรับเกษตรกรที่ทำฟาร์มขนาดกลางและขนาด เล็ก  ในปี 2557 อินโดนีเซียผลิตเนื้อไก่ได้ 1.56 ล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ภายในประเทศในปีเดียวกัน 

ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกในอินโดนีเซียร้อยละ 95 จะเป็นฟาร์มเปิดขนาดเล็ก สามารถเลี้ยงสัตว์ปีกได้ประมาณ 3,000 – 20,000 ตัว ซึ่งฟาร์มเหล่านี้จะมีอัตราการตายของสัตว์ปีกค่อนข้างสูงอยู่ที่ร้อยละ 8 โดยมีสาเหตุมาจากการเป็นโรคและการอยู่ในอุณหภูมิที่สูงเกินไป ส่วนอีกเพียงร้อยละ 2 จะเป็นฟาร์มปิดที่มีระบบให้อาหารและน้ำอัตโนมัติ และมีระบบการควบคุมอุณหภูมิในฟาร์ม สามารถเลี้ยงสัตว์ปีกได้ประมาณ 100,000 – 400,000 ตัว   เกาะชวาเป็นเกาะที่มีการผลิตเนื้อไก่มากที่สุดในอินโดนีเซีย คิดเป็นร้อยละ 60 โดยสามารถแบ่งเป็นเกาะชวาตะวันตก (ร้อยละ 40) เกาะชวาตะวันออก (ร้อยละ37) และเกาะชวากลาง (ร้อยละ21) ส่วนเกาะที่

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527