พฤศจิกายน 2558
แขวงหลวงพระบาง มีพื้นที่ 16,875 ตรกม. ตั้งอยู่ทางภาคเหนือประเทศสปป.ลาว ห่างจากกรุงเวียงจันทน์ประมาณ 200 กิโลเมตร เชื่อมต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 13 สภาพถนนต้องลัดเลาะไปตาม ไหล่เขาทำให้ต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 8–10 ชั่วโมง ตัวเมืองหลวงพระบางตั้งอยู่บนแม่น้ำ 2 สายที่ไหลมาบรรจบกัน ได้แก่ แม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน แวดล้อมไปด้วยหุบเขา ด้านทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงพงสาลี ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงหัวพันและแขวงเชียงขวาง ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงเวียงจันทน์ และทิศตะวันตกติดต่อกับแขวงอุดมชัยและไชยบุรี
รู้จักเมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว
แขวงหลวงพระบาง มีพื้นที่ 16,875 ตรกม. ตั้งอยู่ทางภาคเหนือประเทศสปป.ลาว1 ห่างจากกรุงเวียงจันทน์ประมาณ 200 กิโลเมตร เชื่อมต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 13 สภาพถนนต้องลัดเลาะไปตาม ไหล่เขาทำให้ต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 8–10 ชั่วโมง ตัวเมืองหลวงพระบางตั้งอยู่บนแม่น้ำ 2 สายที่ไหลมาบรรจบกัน ได้แก่ แม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน แวดล้อมไปด้วยหุบเขา ด้านทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงพงสาลีทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงหัวพันและแขวงเชียงขวางทิศใต้ติดต่อกับแขวงเวียงจันทน์และทิศตะวันตกติดต่อกับแขวงอุดมชัยและไชยบุรี
ประกอบไปด้วยเมืองบริวาร 12 เมือง ได้แก่ เมืองหลวงพระบางหรือเมืองเชียงทองซึ่งเป็นเมืองเอก เมืองจอมเพชร เมืองเชียงเงิน เมืองนาน เมืองปากอูเมืองน้ำบาก เมืองงอย เมืองปากแซง เมืองโพนไซ เมืองเวียงคำ เมืองพูคูน และเมืองโพนทอง
ภาพที่ 1 แผนที่หลวงพระบางหรือเชียงทอง
ที่มา : อ้างอิงจาก www.google.co.th/maps
หลวงพระบางมีประชากรประมาณ 463,485 คน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 1.8 ต่อปีแบ่งเป็นเพศชาย 232,153 คน และเพศหญิง 231,332 คน ประชากรประกอบด้วย 3 กลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ ได้แก่ ลาวเทิงร้อยละ 46 อาศัยอยู่ที่ราบสูง ลาวลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อชาติลาว ไทลื้อ ร้อยละ 40 อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ และที่เหลือประมาณร้อยละ 14 เป็นลาวสูงเผ่าต่างๆ อาทิ ขมุ เย้า อีก้อ และม้ง อาศัยอยู่ตามภูเขาสูง
*1 ประเทศ สปป.ลาว มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร จ านวนประชากรประมาณ 6.87 ล้านคน ด้านทิศเหนือมีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทิศ
ตะวันออก ติดกับเวียดนาม ทิศใต้ติดกับประเทศไทยและกัมพูชา ทิศตะวันตก ติดกับประเทศไทยและเมียนมาร์กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง
ด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมมีอัตราเติบโตร้อยละ 8.0 รายได้เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 5.9 ล้านกีบ (720 เหรียญสหรัฐฯ) หรือประมาณ 25,842 บาท โครงสร้างทางเศรษฐกิจประกอบด้วยภาคกสิกรรม ร้อยละ 44 ภาคบริการร้อยละ 37 และภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 19 ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเป็นการทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม และผลผลิตส่วนใหญ่ใช้เพื่อการบริโภคภายใน ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด
สำหรับตัวเมืองเชียงทองหรือหลวงพระบางซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวง เดิมเคยเป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของอาณาจักรล้านช้างอันรุ่งเรืองในอดีต และปัจจุบันเมืองหลวงพระบางก็ยังเป็นศูนย์รวมของความเจริญในภาคเหนือของสปป.ลาวในทุกๆ ด้าน อาทิการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคเหนือ มีมหาวิทยาลัยแห่งชาติสุพานุวง วิทยาลัยกฎหมายภาคเหนือ วิทยาลัยการเงิน-การธนาคารเขตภาคเหนือ โรงเรียนแพทย์และพยาบาล วิทยาลัยครู วิทยาลัยการช่าง (สารพัดช่าง) และจากการที่หน่วยงานราชการของหลวงพระบาง ให้ความสำคัญต่อการรักษาวัฒนธรรม และสภาพบ้านเรือนที่สวยงามกว่า 100 ปี มีการอนุรักษ์รูปแบบอาคาร การก่อสร้างที่แสดงให้เห็นถึงการรับวัฒนธรรมจากฝรั่งเศส ส่งผลให้หลวงพระบางได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และเป็นเมืองที่มีการเติบโตทางด้านธุรกิจการท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ด้านการคมนาคมขนส่งเป็นเมืองศูนย์กลางการคมนาคมและขนส่งที่สำคัญของภาคเหนือของ สปป.ลาว
หลวงพระบางเป็นเมืองที่มีข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ที่สุดเมืองหนึ่งของสปป.ลาว เนื่องจากมีแม่น้ำหลักสำคัญสองสายไหลผ่านคือ แม่น้ำโขง และแม่น้ำคาน ซึ่งเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่และเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชผักนานาชนิด นอกจากนี้ การที่มีภูมิประเทศตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งในอดีตยังเป็นเมืองหลวงเก่าแห่งอาณาจักรล้านช้างอันรุ่งเรือง ส่งผลให้อาหารหลวงพระบาง รสชาติเบาที่สุดในบรรดาอาหารลาวทั้งสามภาค เนื่องจากแตกต่างกันทั้งในขั้นตอนการเตรียม การปรุงรสที่ไม่มีพริกแกง ไม่นิยมการผัด หรือทอดน้ำมัน แต่จะใช้วิธีการนึ่ง ต้ม เป็นส่วนใหญ่ จนมีคนเปรียบเปรยว่าอาหารลาวหลวงพระบาง เป็นอาหารของผู้ดี หรืออาหารชาววัง โดยทั่วไปแล้วอาหารลาวมีรสธรรมชาติมากเครื่องปรุงรสแต่เดิมใช้เกลือเพียงอย่างเดียว มาปัจจุบันชาวลาวทั้งประเทศนิยมใช้ผงชูรสกันมากขึ้นจนเป็นเรื่องปกติแล้วว่าไม่ว่าเป็นอาหารใดก็ต้องใส่ผงชูรสไว้ก่อน (อาหารลาวที่คล้ายคลึงกับอาหารภาคอีสานของไทย จะเป็นอาหารลาวภาคใต้ไม่ใช่ที่หลวงพระบาง)
อย่างไรก็ตาม การที่หลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลก นักท่องเที่ยวมาเยือนมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศส่งผลให้อาหารลาวหลวงพระบาง มีการพัฒนารูปแบบไปเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค (นักท่องเที่ยว) จากนานาชาตินั่นเอง อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวยังสามารถหาอาหารชาววังแท้ๆ ตำรับหลวงพระบางรับประทานได้ตามร้านอาหารบางแห่ง ในเมืองใหญ่อาทิ หลวงพระบาง และนครหลวงเวียงจันทน์
ภาพที่ 2 ข้าวและสิ่งที่รับประทานแทนข้าวของชาวหลวงพระบาง
download PDF ย้อนกลับ