1 กันยายน 2555
อุตสาหกรรมสับปะรดเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตสูง เนื่องจาก
ความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าเขตร้อน ทำให้สามารถปลูกสับปะรดที่มี
รสชาติโดดเด่นและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก โดยแต่ละปีสามารถสร้างรายได้จากการส่งออก
ผลิตภัณฑ์สับปะรดประเภทต่างๆ เช่น สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด และสับปะรดสด แห่ง และ
แช่แข็ง คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก
มีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 40
อย่างไรก็ตาม ในระยะที่ผ่านมาการพัฒนาด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสับปะรดยังคง
เป็นไปในลักษณะของการเพิ่มมูลค่า (Value Added) และการแปรรูปผลิตภัณฑ์เดิมในห่วงโซ่มูลค่า
(Value Chain) โดยเน้นการผลิตสินค้าจำนวนมาก (Mass Product) ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมือน
ๆ กัน จนทำให้เกิดปัญหาการแข่งขันและการขายตัดราคากันเอง นอกจากนี้ยังขาดแนวทางการวิจัย
และพัฒนาเชิงพาณิชย%เพื่อสร้างนวัตกรรมให้กับผลิตภัณฑ์สับปะรดรูปแบบใหม่ ๆ ที่สอดรับกับ
พฤติกรรมการบริโภคที่ปรับเปลี่ยน ซึ่งหากผู้ผลิตสามารถทราบความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค
หรือปัจจัยที่จะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อได้มากที่สุดย่อมมีโอกาสในการครองส่วนแบ่งตลาดได้ยาวนาน
กว่าคู่แข่ง