สวัสดี

การผลิตและอายุการเก็บปลาผงเพื่อใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกิดเจล

แชร์:
Favorite (38)

23 มกราคม 2559

ชื่อเรื่อง : การผลิตและอายุการเก็บปลาผงเพื่อใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกิดเจล

ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาวภาราได พืชสะกะ

คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร. พันธิพา จันทวัฒน์

ที่มา : วิทยานิพนธ์เรื่อง การผลิตและอายุการเก็บปลาผงเพื่อใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกิดเจล สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหารภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2543

แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติกรุงเทพมหานคร

กลุ่มสินค้า : 1511 สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์

เทคโนโลยี : การแปรรูปโดยใช้ความร้อน

Keyword : ปลาผง ปลาทรายแดง เจล ทำแห้งแบบพ่นกระจาย

การผลิตและอายุการเก็บปลาผงเพื่อใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกิดเจล

ปลาผงเป็นการแปรรูปปลาชนิดหนึ่งเพื่อเก็บรักษาปลาที่จับมาได้มากเกินความต้องการ ปลาผงเป็นที่นิยมเนื่องจากแปรรูปง่ายและสามารถเก็บรักษาได้ในทุกอุณหภูมิ อย่างไรก็ตามปลาผงที่ผลิตต้องสามารถรักษาสมบัติการเกิดเจลและสมบัติด้านหน้าที่ (Functional property) ไว้ได้ใกล้เคียงกับเนื้อปลาสดหรือปลาบด งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการผลิตปลาผงโดยการทำแห้งด้วยเครื่องทำแห้งแบบพ่นกระจาย ศึกษาระดับที่เหมาะสมของสารที่ใช้ป้องกันโปรตีนแปลงสภาพในขณะทำแห้ง เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารที่ใช้ปรับปรุงคุณสมบัติในการเกิดเจลของปลาผงและศึกษาอายุการเก็บปลาผง

รูปแบบการศึกษา

วัตถุดิบที่ใช้ในการทดลองนี้คือ เนื้อปลาทรายแดง ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้

- ค่าความชื้นร้อยละ 79.84

- โปรตีนร้อยละ 15.89

- ไขมันร้อยละ 2.78

- เถ้าร้อยละ 0.98

- คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 0.51

- โปรตีนที่ละลายในเกลือต่อโปรตีนทั้งหมดร้อยละ 48.80

- ค่า total volatile base(TVB) 17.54 mg/100g

- ค่า trimethylamine(TMA) 5.62 mg/100g

- ค่าความเป็นกรดด่าง 6.75

การผลิตปลาผงมีขั้นตอนที่สำคัญได้แก่ การล้างเนื้อปลา การเตรียมส่วนผสม และการทำแห้ง ในขั้นตอนการล้างเนื้อปลาพบว่า เนื้อปลาที่ผ่านการล้างมีไขมันลดลงร้อยละ 0.4 และโปรตีนที่ละลายในเกลือต่อโปรตีนทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70ขั้นตอนการเตรียมส่วนผสมได้ทดลองแปรปริมาณของแข็งเพื่อเลือกภาวะที่ดีที่สุดพบว่า ส่วนผสมที่มีความเข้มข้นร้อยละ 30 ให้ผลผลิตสูงที่สุดขั้นตอนการทำแห้งแบบพ่นกระจายจากการศึกษาอุณหภูมิลมร้อนเข้า เวลาที่ใช้ในการทำแห้ง และปริมาณร้อยละซูโครสที่ใช้ พบว่า อุณหภูมิ 150 OC เวลา 62.50 นาที และซูโครสร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก เป็นภาวะที่เหมาะสมในการทำแห้ง ซึ่งปลาผงที่ได้เมื่อเตรียมเจลมีค่าความเหนียว ความสามารถในการพับ

ความสามารถในการอุ้มน้ำ ความจุอิมัลชั่น ปริมาณผลผลิต และความขาวสูงสุด

ต่อมาศึกษาชนิดและปริมาณสารที่ใช้ปรับปรุงสมบัติในการเกิดเจล โดยใช้แป้งมันฝรั่งและเอนไซม์transglutaminase (TGase) พบว่า แป้งมันฝรั่งร้อยละ 11 ให้ตัวอย่างเจลที่มีความขาวสูงสุด ขณะที่การใช้เอนไซม์ TGase ร้อยละ 0.03ให้เจลที่มีค่าความเหนียว ความสามารถในการพับ และความสามารถในการอุ้มน้ำสูงสุด รวมทั้งคุณภาพทางประสาทสัมผัสดีที่สุด สุดท้ายทำการศึกษาอายุการเก็บรักษาปลาผงในถุงชนิด LLDPE เคลือบด้วย nylon พบว่าปิดผนึกที่ความดันสุญญากาศ และเก็บรักษาที่อุณหภูมิตู้เย็น (5 OC)สามารถเก็บได้อย่างน้อย 12 สัปดาห์ โดยที่คุณภาพยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527