สวัสดี

คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอากาศในโรงงานแปรรูปนม

แชร์:
Favorite (38)

23 มกราคม 2559

ชื่อเรื่อง : คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอากาศในโรงงานแปรรูปนม
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นาสาวนาฏลดา อ่อนวิมล
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.ฆรณี ตุ้ยเต็มวงศ์
ที่มา : วิทยานิพนธ์ เรื่อง คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอากาศในโรงงานแปรรูปนม
สาขาจุลชีววิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2543
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
กลุ่มสินค้า : 1520 ผลิตภัณฑ์นม
เทคโนโลยี : การจัดการสุขอนามัยในอุตสาหกรรมอาหาร
Keyword : จุลชีววิทยา / อากาศ/ โรงงานแปรรูปนม

คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอากาศในโรงงานแปรรูปนม

จุลินทรีย์ในอากาศสามารถปนเปื้อนมาในอาหาร โดยการสัมผัสกับอากาศระหว่างการผลิต บรรจุขนส่ง เก็บรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมในการผลิตมีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยตรง อากาศในบริเวณโรงงานผลิตอาหารที่มีเครื่องกรองอากาศ และโรงงานที่ไม่มีเครื่องกรองอากาศ ให้คุณภาพทางอากาศ และ ผลิตภัณฑ์ทางจุลินทรีย์ต่างกัน ซึ่งกรรมวิธีการตรวจคุณภาพอากาศทางจุลชีววิทยาในอุตสาหกรรมมีหลายวิธีให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม

รูปแบบการศึกษา

วิธีการตรวจคุณภาพอากาศทางจุลชีววิทยาในอุตสาหกรรมในการทดลองนี้เลือกใช้ 2 วิธี

1. การตกตะกอน (Sedimentation)

2. วิธีการเกาะติด (Impaction)

โดยเครื่อง MAS-100 บนอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยทำการสุ่มที่โรงงานอุตสาหกรรม 2 แห่ง คือ โรงงานอุตสาหกรรมนม ที่ไม่มีระบบการกรองอากาศและมีระบบการกรองอากาศเพื่อเปรียบเทียบจำนวนและชนิดจุลินทรีย์

ผลการศึกษา

1. จากการสุ่มอากาศวิเคราะห์ โดยวิธีตกตะกอน พบว่า โรงงานที่มีระบบกรองอากาศพบจุลินทรีย์ทั้งหมดในห้องผลิตต่างๆ ของโรงงาน ดังนี้

- ห้องผลิต 18.75 CFU / 15 นาที

- ห้องบรรจุ พลาสเจอร์ไรซ์ 88.33 CFU / 15 นาที

- ห้องผลิตนม และ ห้องบรรจุนม UHT 18.50 CFU / 15 นาที

- ห้องปรุงผสม 128 CFU / 15 นาที

2. จากการสุ่มอากาศวิเคราะห์ โดยวิธีดูดผ่านผิวหน้าอาหารแข็ง พบว่า โรงงานที่มีระบบกรองอากาศพบจุลินทรีย์ทั้งหมดในห้องผลิตต่างๆ ของโรงงาน ดังนี้

- ห้องผลิต 483 CFU / 15 นาที

- ห้องบรรจุ พลาสเจอร์ไรซ์ 1437 CFU / 15 นาที

- ห้องผลิตนม และ ห้องบรรจุนม UHT 231 CFU / 15 นาที

- ห้องปรุงผสม 1441 CFU / 15 นาที

สรุปผลการศึกษา

1. จุลินทรีย์ทั้งหมด พบว่าโรงงานที่มีระบบกรองอากาศพบจุลินทรีย์ทั้งหมดต่ำกว่าโรงงานที่ไม่มีระบบกรองอากาศ

2. ปริมาณยีสต์และราพบว่า โรงงานที่มีระบบกรองอากาศพบยีสต์และราต่ำกว่าโรงงานที่ไม่มีระบบกรองอากาศ

3. แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มตรวจพบในทั้งสองโรงงาน ซึ่งเป็นเชื้อ E. coli , Enterobacter sp. และKlebsiella sp. ส่วนแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารที่พบมากคือ S. aureus, B. cereus ,Streptococcus แต่ตรวจไม่พบ Salminella spp. และ Listeria spp. ทั้งสองโรงงาน

4. การประเมินคุณภาพอากาศเทียบกับตารางมาตรฐาน พบว่า ทั้งสองโรงงานมีจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานระดับดี ส่วนยีสต์รา ในโรงงานที่มีตัวกรองอากาศต่ำกว่ามาตรฐาน

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527