สวัสดี

บรรจุภัณฑ์เยื่อกระดาษขึ้นรูปสำหรับบรรจุไข่นกกระทา

แชร์:
Favorite (38)

22 มกราคม 2559

ชื่อเรื่อง : บรรจุภัณฑ์เยื่อกระดาษขึ้นรูปสำหรับบรรจุไข่นกกระทา

ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นายชาญชัย รังสีนางสาวอโนมา ธิติธรรมวงศ์

คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : -

ที่มา : โครงงานนักศึกษา เรื่อง บรรจุภัณฑ์เยื่อกระดาษขึ้นรูปสำหรับบรรจุไข่นกกระทา คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ปี 2544

แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : หอสมุด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กลุ่มสินค้า : 1511 เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์

เทคโนโลยี : เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์

Keyword : ไข่ นกกระทา บรรจุภัณฑ์ กระดาษ

บรรจุภัณฑ์เยื่อกระดาษขึ้นรูปสำหรับบรรจุไข่นกกระทา

ไข่นกกระทาจัดเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก แต่ยังขาดการให้ความสนใจด้านบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุ ทำให้ถูกมองข้ามและด้อยราคาลง ซึ่งพบว่า มีการใช้ถาดพลาสติกขึ้นรูปด้วย

ความร้อนมาใช้ในการบรรจุ แต่มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยสลายและการทำลาย ประกอบกับปัจจุบันเกิดกระแสนิยมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาก การนำกระดาษมารีไซเคิลโดยทำเป็นบรรจุภัณฑ์เยื่อ

กระดาษขึ้นรูปเป็นแนวทางในการทำบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุไข่นกกระทาแบบใหม่โดยได้ทำการศึกษาน้ำหนักของกระดาษหนังสือพิมพ์ต่อปริมาตรน้ำ และปริมาณแป้งดัดแปรชนิดแคทไอออนิกที่เหมาะสมในการขึ้นรูปกระดาษ โดยการขึ้นรูปเยื่อกระดาษจะอาศัยการกระจายน้ำเยื่อแล้วปล่อยให้ไหลผ่านแม่พิมพ์ 3 มิติ รูปถาดบรรจุไข่นกกระทา ขนาด 22x22ซม. และทำการ เตรียมน้ำเยื่อให้

มีอัตราส่วนของกระดาษหนังสือพิมพ์ต่อน้ำ 6.5 ลิตร 3 ระดับ คือ 25, 29 และ 33 กรัม และเติมแป้งดัดแปร 2ระดับ คือ 5 เท่าและ 10 เท่าของกระดาษหนังสือพิมพ์ แล้วนำไปทำการขึ้นรูปเยื่อกระดาษโดยใช้ตะแกรงแผ่น PVC ที่มีผ้าขาวบางวางด้านบนและเครื่องขึ้นรูปเยื่อกระดาษที่สร้างขึ้นมา จากนั้นนำออกจากเครื่องขึ้นรูปแล้วใช้ผ้าขาวม้าวางบนเยื่อกระดาษ แล้วใช้วัตถุกดผ้าขาวบางให้แนบกับเยื่อกระดาษรีดน้ำออก และนำไปตากแดดจนแห้ง พบว่าการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หนัก 33 กรัม จะให้ค่าการดูดซึมน้ำ ค่าความต้านทานแรงกด และค่าความต้านทานแรงกดเมื่อบรรจุไข่นกกระทา สูกว่ากระดาษหนังสือพิมพ์ 25 และ29 กรัม และพบว่าการใช้แป้งดัดแปรจำนวน 10 เท่าของกระดาษหนังสือพิมพ์ จะให้ค่าการดูดซึมน้ำ ค่าความต้านทานแรงกด และค่าความต้านทานแรงกดเมื่อบรรจุไข่นกกระทา สูงกว่าการใช้แป้งดัดแปรจำนวน5 เท่าของกระดาษหนังสือพิมพ์

จากการศึกษาผลการเคลือบสารกันน้ำด้วยการเคลือบพาราฟินแวกซ์ 25 กรัม พบว่า บรรจุภัณฑ์เยื่อกระดาษขึ้นรูปที่เคลือบพาราฟินแวกซ์มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับที่ไม่เคลือบ แต่มีการดูดซึมน้ำลดลง เมื่อ

พิจารณาด้านการนำไปใช้งาน จะพบว่าทำให้บรรจุภัณฑ์เยื่อกระดาษขึ้นรูปสำหรับไข่นกกระทามีความแข็งวางเรียงซ้อนกันได้มากขึ้น แต่ขาดความอ่อนตัวและยืดหยุ่น ไม่ดูดซับแรงที่มากระทำ ส่งผลให้มีไข่นกกระทาเสียหายมากในการหาจำนวนเรียงซ้อน พบว่า บรรจุภัณฑ์เยื่อกระดาษขึ้นรูปสำหรับไข่นกกระทาที่เคลือบพาราฟินแวกซ์สามารถเรียงซ้อนได้มากกว่าบรรจุภัณฑ์เยื่อกระดาษขึ้นรูปที่ไม่เคลือบพาราฟินแวกซ์ โดยซ้อนได้ถึง 794 และ 642 ชั้น ตามลำดับ แต่ในความเป็นจริงนั้นยังต้องคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมด้วย เช่นอุณหภูมิ ความชื้น สภาพการลำเลียงขนส่ง เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนชั้นของการเรียงซ้อน

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527