สวัสดี

การศึกษาและการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์อาหารนำกลับบ้านรักษาอุณหภูมิ

แชร์:
Favorite (38)

22 มกราคม 2559

ชื่อเรื่อง : การศึกษาและการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์อาหารนำกลับบ้านรักษาอุณหภูมิ

ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาวภาวิดา ประสิทธิเม นางสาวสาทินี สวัสดี

คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.กิตติชัย บรรจง

ที่มา : ปัญหาพิเศษเรื่อง การศึกษาและการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์อาหารนำกลับบ้านรักษาอุณหภูมิ ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรโครงการคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ปี2546

แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

กลุ่มสินค้า : 1549 ผลิตภัณฑ์อาหารอี่นๆ

เทคโนโลยี : เทคนิคการบริหารจัดการอื่น ๆ

Keyword : บรรจุภัณฑ์ กระดาษคราฟ กระดาษลูกฟูก กระดาษเคลือบไข

การศึกษาและการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์อาหารนำกลับบ้านรักษาอุณหภูมิ

บรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้ในการบรรจุอาหารได้แก่ กระดาษคราฟ กระดาษลูกฟูก กระดาษเคลือบไข ซึ่งกระดาษทั้ง 3 ชนิดนี้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยกระดาษคราฟ เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้มีทั้งชนิดที่ไม่ฟอกสี ซึ่งทนต่อแรงดึงและการฉีกขาดได้ดี เหมาะสำหรับเป็นวัสดุหีบห่อในขนส่ง และชนิดที่ผ่านการฟอกสี นิยมใช้เป็นถุงในการบรรจุอาหารแบบฟาสฟูดส์ (Fast Food) กระดาษคราฟในประเทศไทยสามารถจัดเกรดออกเป็นหลายเกรด เช่น เกรด เอส (KS) ใช้สำหรับเป็นด้านพิมพ์ของ

กล่องบรรจุนม, เกรด เอ (KA) นิยมใช้เป็นกล่องสำหรับบรรจุอาหารเพื่อการส่งออก เช่น อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารกระป๋อง เป็นต้น

กระดาษลูกฟูก เป็นกระดาษที่ประกอบด้วยกระดาษลูกฟูกอย่างน้อย 1 แผ่น ประกอบด้วยกระดาษทำผิวกล่องอย่างน้อย 2 แผ่น ซึ่งสามารถแบ่งกระดาษลูกฟูกได้เป็น 4 ประเภทคือ กระดาษลูกฟูกแบบหน้าเดียว, กระดาษลูกฟูก 1 ชั้น, กระดาษลูกฟูก 2 ชั้น และกระดาษลูกฟูก 3 ชั้น ซึ่งการนำมาใช้งานก็แตกต่างกันโดยกระดาษลูกฟูก 3 ชั้น จะมีความคงทนแข็งแรงมากที่สุด มักนิยมบรรจุสิ่งของที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ส่วนกระดาษเคลือบ เป็นการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษตามความต้องการของการใช้งาน เช่น เคลือบด้วยขี้ผึ้ง มีคุณสมบัติต้านการซึมผ่านของไอน้ำ ราคาไม่สูง และเป็นกระดาษเคลือบที่นำมาใช้ในการหีบห่อกันมานานและใช้กันอย่างกว้างขวาง สำหรับอะลูมิเนียมฟอยล์ เป็นโลหะที่นำมารีดเป็นแผ่นบาง ๆ ซึ่งสามารถนำมาขึ้นรูป พับ เป็นบรรจุภัณฑ์ได้ บางกรณีมีการนำอะลูมิเนียมฟอยล์มาปะติดกับวัสดุอื่น ๆ เช่น ฟิล์มพลาสติก

การศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงบรรจุภัณฑ์อาหารนำกลับบ้านโดยใช้ภาชนะบรรจุทั้ง 3 ชนิด คือกระดาษลูกฟูก กระดาษคราฟ และกระดาษเคลือบไข เปรียบเทียบกับภาชนะบรรจุที่ใช้อะลูมิเนียมฟอยล์ปะกบกระดาษทั้ง 3 ชนิด โดยพิจารณาการเก็บรักษาอุณหภูมิของอาหารในบรรจุภัณฑ์แต่ละชนิด โดยกำหนดเป้าหมายให้บรรจุภัณฑ์สามารถเก็บรักษาอุณหภูมิของอาหารให้มีอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส นาน30 นาที โดยบรรจุมันฝรั่งต้มอุณหภูมิเริ่มต้น 75 องศาเซลเซียส ลงในบรรจุภัณฑ์แต่ละชนิดที่มีขนาด8x11x5.5 ซม. แล้ววัดอุณหภูมิที่ลดลงทุกนาทีโดยใช้เทอร์โมคอปเปิล เป็นเวลา 30 นาที โดยคุมอุณหภูมิห้องไว้ที่ 24 องศาเซลเซียส

ผลการวิจับพบว่า มันฝรั่งที่บรรจุในภาชนะบรรจุที่ทำจากกระดาษเคลือบไขมีอัตราการลดของอุณหภูมิต่ำที่สุด กล่าวคือ ภาชนะบรรจุที่ทำจากกระดาษเคลือบไขสามารถรักษาอุณหภูมิของอาหารได้ดีกว่าภาชนะบรรจุที่ทำจากกระดาษลูกฟูก และกระดาษคราฟ สำหรับภาชนะบรรจุที่ปะกบอะลูมิเนียมฟอยล์ พบว่ามีอัตราการลดลงของอุณหภูมิต่ำกว่าภาชนะบรรจุที่ไม่ปะกบอะลูมิเนียมฟอยล์

ในการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์อาหารนำกลับบ้าน พบว่า กระดาษเคลือบไขที่ปะกบอะลูมิเนียมฟอยล์สามารถเก็บรักษาอุณหภูมิของอาหารไว้ได้ดีที่สุดและใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ มีอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียส เมื่อเวลาผ่านไป 30 นาที

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527