สวัสดี

ประสิทธิภาพของสารสกัดจากสาหร่ายทะเลบางชนิดในการยับยั้งแบคทีเรียและการเป็นสารกันหืน

แชร์:
Favorite (38)

21 มกราคม 2559

ชื่อเรื่อง : ประสิทธิภาพของสารสกัดจากสาหร่ายทะเลบางชนิดในการยับยั้งแบคทีเรียและการเป็นสารกันหืน

ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : วนิดา ศรีอินทร์

คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : -

ที่มา : รายงานวิจัย เรื่อง ประสิทธิภาพของสารสกัดจากสาหร่ายทะเลบางชนิดในการยับยั้งแบคทีเรียและการเป็นสารกันหืน ISBN 974-357-250-3

แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

กลุ่มสินค้า : 1549 ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ

เทคโนโลยี : การแปรรูปโดยการกำจัดความร้อน

Keyword : สกัด สาหร่ายทะเล กันหืน แบคทีเรีย วัตถุเจือปนอาหาร

ประสิทธิภาพของสารสกัดจากสาหร่ายทะเลบางชนิดในการยับยั้งแบคทีเรีย และการเป็นสารกันหืน          

เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า สาหร่ายทะเลจะมีสารประกอบที่สามารถยับยั้งการเจริญของ

จุลินทรีย์บางชนิดได้ (Yi et al., 1998) นอกจากนี้ แม้สาหร่ายทะเลจะมีไขมันไม่อิ่มตัวสูงแต่ก็มีความคงตัว

ต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (ปฏิกริยาเคมีที่เกิดขึ้นเมื่อโครงสร้างของอาหารทำปฏิกริยากับก๊าซออกซิเจน

ที่อยู่ในอากาศทำให้อาหารเกิดการเปลี่ยนแปลงกลิ่นรส เช่น การเกิดกลิ่นหืนในน้ำมัน) การศึกษาครั้งนี้จึงมี

วัตถุประสงค์เพื่อสกัดสารจากสาหร่ายชนิดต่างๆ และศึกษาผลของสารสกัดที่มีผลต่อการเจริญของแบคทีเรีย

และสารป้องกันการหืน ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้จะทำให้ผลิตวัตถุเจือปนอาหารทางเลือก

ใหม่เพื่อทดแทนสารกันสังเคราะห์อื่นๆที่จำหน่ายในท้องตลาดซึ่งได้รับการกำหนดปริมาณการใช้เนื่องจาก

สารบางชนิดอาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการทดลอง สรุปได้ดังนี้

วัสดุ

• สาหร่ายทะเล 3 ชนิด (10 สายพันธุ์)ประกอบด้วย

- สาหร่ายทะเลสีเขียว(3 สายพันธุ์)

- สาหร่ายทะเลสีน้ำตาล(4 สายพันธุ์)

- สาหร่ายทะเลสีแดง(3 สายพันธุ์)

• น้ำสะอาด

• ส่วนผสมสำหรับผลิตไส้กรอกปลา

• ส่วนผสมสำหรับผลิตกุนเชียง

• แบคทีเรีย 8 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

- Bacillus cereus, Escherichia coli

- Vibrio cholerae, Staphyloccocus aureus

- Salmonella enteritidis , Sal. paratypi

- Sal. typhi และ Sal. typhimurium

อุปกรณ์

1. เครื่องอบแห้ง

2. เครื่องบด

3. กระดาษกรอง Whatman เบอร์ 1

4. กระดาษกรองแบคทีเรีย(0.45 ไมโครเมตร)

5. ตู้แช่เย็น(-20,4 องศาเซลเซียส)

6. เครื่องระเหยแบบสุญญากาศ

7. เครื่องทำแห้งแบบเยือกแข็ง

8. ขวดสีชา

9. กระดาษวงกลม(paper disc diffusion)

ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสาหร่ายทะเลชนิดต่างๆ ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ใช้

ทดสอบในอาหารเลี้ยงเชื้อ

 

จากการศึกษา พบว่า สารสกัดหยาบจากสาหร่ายทะเลสีน้ำตาล สายพันธุ์ Padina japonica ที่มี

ประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียที่ทดสองในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ดีที่สุด และแบคทีเรียที่ตอบสนองต่อ

สารสกัดหยาบจากสาหร่ายทะเลมากที่สุดคือ S. aureus สำหรับไส้กรอกปลาที่ผสมสารสกัดจากสาหร่าย

Padina japonica สามารถยับยั้งจุลินทรีย์ได้ สามารถยืดอายุการเก็บรักษา ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ได้

นานกว่า 27 วันแต่ไม่เกิน 30 วัน และเมื่อทดสอบด้านคุณลักษณะ สี กลิ่น รส เนื้อสัมผัส พบว่า เป็นที่

ยอมรับของผู้บริโภค

การทดสอบคุณสมบัติสารกันหืน พบว่า สารสกัดหยาบจากสาหร่ายทะเลสีน้ำตาล สายพันธุ์

T.conoids มีประสิทธิภาพเป็นสารกันหืนดีที่สุด เมื่อนำมาผลิตกุนเชียง สามารถยืดอายุการเก็บรักษา

กุนเชียงได้นานกว่าที่ไม่ผสมสารสกัดหยาบจากสาหร่ายจาก 12 วัน เป็น 18 วัน และเมื่อทดสอบคุณ

ลักษณะ สี กลิ่น รส เนื้อสัมผัส พบว่า เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527