21 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การผลิตน้ำนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมในโรงงานนำร่อง
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาวกรศุลี รัตนปริยานุช
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร. สุวรรณา สุภิมารส
มณฑาทิพย์ ยุ่นฉลาด
ที่มา : วิทยานิพนธ์ เรื่อง การผลิตน้ำนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมในโรงงาน
นำร่อง สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร
ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2544
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : ห้องสมุดงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสินค้า : 1531 ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช
เทคโนโลยี : การแปรรูปโดยใช้ความร้อน
Keyword : นมถั่วเหลือง พาสเจอร์ไรซ์ ถั่วเหลือง แคลเซียมกลูโคโนแลคเตต แคลเซียม
การผลิตน้ำนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมในโรงงานนำร่อง
น้ำนมถั่วเหลืองเป็นเครื่องดื่มที่มีโปรตีนสูง ราคาถูก ไม่มีแลคโตส และย่อยง่าย ทำให้ไม่เกิดอาการ
แพ้ในเด็กที่แพ้นมวัวแต่ในน้ำนมถั่วเหลืองมีปริมาณแคลเซียมต่ำเมื่อเทียบกับนมวัว จึงมีการพยายามเสริม
แคลเซียมลงในน้ำนมถั่วเหลือง อย่างไรก็ตาม การเสริมแคลเซียมจะก่อให้เกิดเจลของโปรตีนในน้ำนมถั่ว
เหลือง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเติมแคลเซียมลงในน้ำนมถั่วเหลืองซึ่งไม่ทำให้เกิด
เจลของโปรตีนเมื่อผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อในภาชนะบรรจุปิดสนิท
รูปแบบการศึกษา
จากการศึกษาชนิดและปริมาณแคลเซียมที่ pH ระดับต่างๆ ต่อการตกตะกอนของโปรตีนในน้ำนม
ถั่วเหลืองที่เติมสารละลายโซเดียมไตรโพลีฟอสเฟต (STPP) อิ่มตัวให้มีความเข้มข้นสุดท้ายเป็น 0.1%(w/v)
เมื่อผ่านการให้ความร้อนแบบพาสเจอร์ไรซ์ พบว่าน้ำนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมกลูโคโนแลคเตต ปริมาณ
30 mg/น้ำนมถั่วเหลือง 100 ml ปรับ pH เป็น 7 ได้คะแนนความชอบรวมจากผู้บริโภคมากที่สุด
จากการศึกษาการผลิตน้ำนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมแบบสเตอริไรซ์ พบว่าการเสริมแคลเซียมกลู
โคโนแลคเตต ปริมาณ 30 mg/น้ำนมถั่วเหลือง 100 ml ปรับ pH เป็น 7 บรรจุในกระป๋องเคลือบแลกเกอร์
โดยใช้อุณหภูมิ 121OC ค่า F250 เท่ากับ 7.38 นาที ใช้เวลาฆ่าเชื้อ 16 นาที ได้น้ำนมถั่วเหลืองไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เนื่องจากมีกลิ่นคล้ายไข่ต้ม สีคล้ำ มีรสชาติแปลกปลอมมาก