20 มกราคม 2559
ชื่อเรื่อง : การเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและยืดอายุการเก็บรักษาข้าวเกรียบปลา
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาวอรนุช สีหามาลา
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : -
ที่มา :วิทยานิพนธ์ เรื่อง การเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและยืดอายุการเก็บรักษาข้าวเกรียบปลา
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มสินค้า : 1512 สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์
เทคโนโลยี : การแปรรูปโดยใช้ความร้อน
Keyword : ข้าวเกรียบปลา แป้งมันสำปะหลัง ใยอาหาร โปรตีน
การเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและยืดอายุการเก็บรักษาข้าวเกรียบปลา
ข้าวเกรียบปลาเป็นอาหารว่างที่มีส่วนประกอบหลัก คือ แป้งมันสำปะหลัง แต่มีโปรตีนและเส้นใย
อาหารต่ำ ซึ่งเส้นใยอาหารมีผลต่อระบบสรีระวิทยาของร่างกายหลายๆ ด้าน เช่น ลดระดับโคเลสเตอรอลใน
เลือด ลดระดับน้ำตาล และลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ งานวิจัยนี้จึงมุ่งพัฒนาสูตรข้าวเกรียบปลาจาก
แป้งมันสำปะหลังเสริมโปรตีนจากแหล่งต่างๆ และเสริมเส้นใยอาหารด้วยพืชบางชนิด ที่เป็นวัตถุดิบหาง่าย
และราคาถูก
วิธีการทดลอง
ส่วนผสมหลัก : แป้งมันสำปะหลัง, ปลาดุก
ส่วนผสมอื่นๆ ที่ใช้เพิ่มเส้นใยอาหาร : แป้งข้าวกล้อง, แครอต, ฟักทอง
ขั้นตอนการผลิตข้าวเกรียบปลา
สรุปผลการทดลอง
1. ข้าวเกรียบปลาที่ได้จากการทดลอง มีคุณลักษณะด้าน สี กลิ่น รส และการยอมรับโดยรวมไม่ต่าง
จากข้าวเกรียบยี่ห้อมโนราห์
2. อัตราส่วนที่เหมาะสมของการผลิตข้าวเกรียบปลา โดยน้ำหนัก คือ
- แป้งมันสำปะหลัง 60%
- แป้งข้าวกล้อง 15%
- เนื้อปลาดุก 25%
3. ส่วนผสมที่มีผลต่อความพอง กรอบ และขนาดหลังทอด คือ
- เกลือ 2.0%
- แครอต 10.0%
- น้ำ 20.33%
- วัตถุดิบอื่นๆ ได้แก่ แป้งผสมเนื้อปลา, ฟักทอง, พริกไทย, น้ำตาล และกระเทียม
4. คุณค่าทางโภชนาการของข้าวเกรียบปลาตามสูตร ต่อ 100 กรัม คือ
- เบต้าแคโรทีน 72 ไมโครกรัม
- วิตามินอี 4.85 มิลลิกรัม
- โอเมก้า-3 (Linoleic acid) 0.04 กรัม
- เส้นใยอาหาร 1.02%
- โปรตีน 7.65%
5. อายุการเก็บรักษาข้าวเกรียบปลาบรรจุถุงอลูมิเนียมฟอยล์และถุงพลาสติกทนร้อน ที่ 20 °ซ สามารถ
เก็บรักษาได้นานกว่าที่อุณหภูมิอื่นๆ โดยการเก็บในถุงอลูมิเนียมฟอยล์พร้อมกับการเติมก๊าซ
ไนโตรเจนโดยไม่ใส่สารกันหืน มีอายุการเก็บรักษานาน 12 สัปดาห์