17 กรกฎาคม 2545
บทสรุปสําหรับผูู้บริหาร
การจัดทําข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (สาขาอาหาร)
1. ความเป็นมาของโครงการอุตสาหกรรมอาหารของไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน และมีปริมาณการส่งออกสูงถึงร้อยละ 15 ของสินค้าที่ส่่งออกทั้งหมดในปี 2544 แต่เนื่องจากการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันมีการแข่งขันกันรุนแรงทั้งในด้านการใช้มาตรการภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการ
แข่งขันระหว่างประเทศ การทําการวิจัยในครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อจัดทําข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งและจัดทําปัจจัยชี้วัดขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับอุตสาหกรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อให้ทราบถึงจุดอ่อน-จุดแข็งของอุตสาหกรรมไทยและคู่แข่งในแต่ละประเทศ
เนื่องจากอุตสาหกรรมข่าวและกุ้งแปรรูปเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทยที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในการวิจัยครั้งนี้จึงได้ทําการศึกษาอุตสาหกรรมข้าวแปรรูป ซึ่ง ได้แก่ เส้นหมี่-เส้นก๋วยเตี๋ยว แป้งข้าวเจ้า-แป้งข้าวเหนียว และขนมอบกรอบจากข้าว โดยทําการศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งที่สําคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ตามลําดับ ในส่วนของอุตสาหกรรมกุ้งแปรรูปนั้นได้ทําการศึกษา กุ้งแช่เย็น-แช่แข็ง กุ้งกระป๋อง และกุ้งแปรรูปอื่น ๆ เช่น กุ้งคอกเทล กุ้งชุปแป้งทอด ติ่มซํา เป็นต้น โดยทําการศึกษา
เปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งสําคัญ ได้แก่ เวียดนาม และออสเตรเลียการเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันภายในประเทศนั้น ได้ทําการรวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่ง
ปฐมภูมิและทุติยภูมิโดยข้อมูลปฐมภูมิได้จากการสอบถามผู้ประกอบการโดยใช้การจัดส่งแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือ สําหรับแหล่งข้อมูลทุติยภูมิทางการเงินนั้นได้จากกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจากนั้นจึงนําข้อมูลจากแบบสอบถามและข้อมูลทุติยภูมิที่ได้รับไปใช้ในการจัดทําปัจจัยชี้วัดประสิทธิภาพและค้าบรรทัดฐานทางการเงิน ซึ่งข้อมูลที่มีบทบาทสำคัญในการจัดทําปัจจัยชี้วัดและค่าบรรทัดฐานคือข้อมูลทางด้านการเงิน เพราะเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงผลการดําเนินงานของอุตสาหกรรม และสามารถเชื่อมโยงไปถึงกิจกรรมที่อยู่เบื้องหลังตัวเลขเหล่านั้นได้ส่วนการเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศนั้น ได้ทําการรวบรวมข้อมูลทั้งจาก
แหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิเช่นเดียวกัน โดยข้อมูลปฐมภูมิได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการในประเทศคู่แข่งเป็นหลัก ส่วนข้อมูลทุติยภูมินั้นได้รวบรวมจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจากทั้งประเทศไทยและประเทศคู่แข่ง จากนั้นนําข้อมูลมาวิเคราะห์และจัดทําปัจจัยชี้วัดขีดความสามารถในการการแข่งขันระหว่างประเทศ ดังนั้นรายงานสรุปฉบับนี้จึงประกอบด้วยบทสรุปและข้อเสนอแนะความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมข้าวและกุ้งแปรรูปของไทยและความสามารถในการแข่งขันของของอุตสาหกรรมข้าวและกุ้งแปรรูปของไทยกับประเทศคู่แข่ง