สวัสดี

โครงการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน(Competitive Benchmarking) สาขาอุตสาหกรรมอาหาร

แชร์:
Favorite (38)

25 กันยายน 2551

โครงการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน(Competitive Benchmarking) สาขาอุตสาหกรรมอาหาร
ในปี 2550ตำแหน่งการตลาดสินค้าอาหารของไทยตลาดโลก มีส่วนแบ่งอยู่ที่ร้อย ละ 2.40 เพิ่มขึ้นจากปี 2548 และ 2549 ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.19 และ 2.30 ตามลำดับ เป็นผลจากการขยายความต้องการของตลาดโลก และสินค้าอาหารบางรายการของไทยที่สามารถเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งรายเดิมได้ แต่เมื่อพิจารณาขีดความสามารถในภาพรวมของไทยและคู่แข่ง 

การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงปรียบเทียบหรือ Benchmarking กับประเทศคู่เปรียบเทียบในผลิตภัณฑ์เป้าหมายทั้ง 4 ได้ใช้แนวคิดหลัก 3 กรอบแนวคิดด้วยกัน คือ กรอบแนวคิดการวิเคราะห์เปรียบเทียบคู่แข่งขัน (Competitive Benchmarking) อันเป็นแนวคิดพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบ จากนั้นในการวิเคราะห์และกำหนดดัชนีชี้วัดได้ใช้กรอบแนวคิดของ Michael E. Porter ซึ่งประกอบด้วย 2 กรอบแนวคิด คือ ตัวแบบ Porter’s Five ForcesModel ซึ่งเป็นตัวแบบที่กล่าวถึงการวิเคราะห์พลังผลักดันต่อการแข่งขัน (Competitive Forces) 5ประการ ซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดระดับความรุนแรงในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมรวมถึงเป็นการให้ภาพทางโครงสร้างอุตสาหกรรม (Structural factors) และสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรม อันจะนำมาสู่การตระหนักรู้ในศักยภาพการแข่งขันของตัวเอง เพื่อเป็นประโยชน์ในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขันต่อไป ตัวแบบที่ใช้ในการวิเคราะห์อีกตัวแบบหนึ่งคือ Diamond Model อันเป็นตัวแบบที่ใช้วัดความสามารถในการแข่งขันในระดับประเทศได้ สุดท้ายเป็นการกล่าวถึงการประยุกต์แนวคิดทั้ง 3แนวคิดเข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ด้วย

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527